อันนี้ชื่อก็บอกอยู่อีกเช่นกันว่า นำไปใช้กับรูปประโยคแบบ Continuous และการทำกริยาห้เป็นนาม (อาการนาม) หรือ ที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Gerund แต่ตอนนี้ผมจะพาไปทำความรู้จักกับการผันกริยาในรูปแบบนี้เลยนะครับ
การผัน Verb -ing
โดยทั่วไปจะเติม ing ได้ทันทีเลยครับ แต่ในบางกรณีก็จะมีที่นอกกฏบางเหมือนกัน ดังนี้ครับ
1. เติม ing ท้ายกริยาช่องที่ 1 ได้ทันทีสำหรับคำกริยาโดยทั่วๆไป เช่น
walk –> walking เดิน
teach –> teaching สอน
2. เป็นคำพยางค์เดียว ออกเสียงสั้น หน้าพยัญชนะท้ายมีสระ 1 ตัว ให้ใส่พยัญชนะท้ายเพิ่มกไปอีกหนึ่งตัวแล้วเติม ing
swim –> swimming ว่ายน้ำ
cut –> cutting ตัด
3. คำ 2 พยางค์ ซึ่งลงท้ายหนัก ที่พยางค์ท้าย มีสระที่พยางค์ท้ายเพียงตัวเดียว และลงท้ายด้วยพยัญชนะตัวเดียว ต้องเพิ่มพยัญชนะตัวท้ายนั้นเข้าไปอีกหนึ่งตัว แล้วจึงเติม ing เช่น
begin –> beginning เริ่ม
forget –> forgetting ลืม
แต่มีข้อยกเว้นนะครับว่า ถ้าลงเสียงหนักพยางค์แรก ไม่ต้องเพิ่มพยัญชนะตัวท้ายอีก เช่น
cover –> covering ปกคลุม
4. คำกริยา 2 พยางค์ต่อไปนี้ จะเพิ่มตัวสะกดเข้ามาแล้วเติม ing (แบบอังกฤษ) หรือจะไม่เพิ่มตัวสะกดแต่เดิม ing เลย (แบบอเมริกัน) ก็ได้ เช่น
แบบอังกฤษ : control –> controlling ควบคุม
แบบอเมริกัน : control –> controlling ควบคุม
5. คำกริยาที่ลงท้ายด้วย e (กรณีไม่ออกเสียงที่ตัว e) ให้ตัด e ทิ้งแล้วเติม ing เช่น
live –> living อยู่อาศัย
stare –> staring จ้อง
6. กริยาที่ลงท้ายด้วย ee ให้เติม ing ได้เลย ไม่ต้องตัดตัวใดทิ้ง เช่น
free –> freeing ปล่อยเป็นอิสระ
see –> seeing เห็น
7. กริยาที่ลงท้ายด้วย ie ให้เปลี่ยน ie เป็น y แล้วเติม ing เช่น
die –> dying ตาย
tie –> tying ผูก
แต่ก็มีข้อยกเว้นสำหรับบางคำเช่นกันครับ เช่น
ski –> skiing เล่นสกี
dye –> dyeing ย้อมสี
8. คำกริยาที่ลงท้ายด้วย c ให้เติม k ก่อนเติม ing เช่น
picnic –> picnicking ปิกนิก