คำศัพท์ทั่วไป ศัพท์ทั่วไปเป็นกลุ่มของศัพท์ที่เราพบเห็นกันทั่วไปนะครับ คำศัพท์กลุ่มนี้เราก็จะไม่ค่อยผิดพลาดกันสักเท่าไหร่ เวลาเราแปลหรือเรารับมาแปลงภาษาเพราะศัพท์ในภาษาอังกฤษจะค่อนข้างมีความหมายตายตัวอยู่แล้ว แต่ส่วนที่ยากกลับเป็นการหาคำไทยมาลงแทนต่างหากล่ะครับ ชนิดของคำในภาษาอังกฤษหรือ parts of speech เป็นส่วนประกอบของคำพูดภาษาอังกฤษ ที่นำมาใช้ในการพูดหรือในการเขียน
โดยที่ชนิดของคำจะแบ่งออกเป็น 8 ชนิดด้วยกันคือ
1. นาม (Noun) หมายถึง คำที่ใช้เรียกคนสัตว์สิ่งของโดยทั่วไป
2. กริยาหรือ verb หมายถึง คำที่ใช้แสดงอาการในการกระทำอะไรต่ออะไร
3. คุณศัพท์ (adjective) หรือบางทีเราอาจรู้จักในภาษาไทยว่าคำวิเศษนั่นเอง เป็นคำประเภทขยายความของนามสรรพนามเพื่อให้ได้ใจความที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
4. กริยาวิเศษณ์ (Adverb) ในภาษาไทยพวกคำเหล่านี้เราก็ยังคงเรียกรวมว่าวิเศษอยู่เหมือนเดิม
บางทีคนไทยเราก็จะแปลคำพวกนี้ว่าอย่าง…
แต่บางกรณีก็ไม่ต้องใส่ก็ได้เช่นกัน ขอให้เราอย่าลืมในส่วนนี้ก็แล้วกันนะครับ โดยที่คำกริยาวิเศษณ์จะใช้ขยายคำกริยา คำสรรพนามคำนามคำบุพบท คําสันธาน คำคุณศัพท์ และแม้แต่ขยายคำวิเศษณ์ด้วยกันเอง
5 สรรพนาม (Pronoun) ในภาษาไทยของเราก็มีสรรพนามเช่นเดียวกับภาษาอังกฤษ สรรพนามเป็นการใช้แทนนามโดยลักษณะของมันก็จะมีสรรพนามบุรุษที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 คงนึกออกกันแล้วใช่ไหมครับ ถ้าเป็นไรภาษาไทยเราก็ต้องเป็นคำว่าฉันคุณเธอ ท่านเขามัน นั่นล่ะครับ การมีสรรพนามก็เป็นประโยชน์อย่างหนึ่ง คือแทนที่เราจะใช้คำเดียวกันทั้งเรื่องซึ่งก็คงจะยืดยาวและน่าเบื่อเป็นแน่ เราก็สามารถใช้สรรพนามนี่หละครับแทนลงไป และการเลือกใช้สรรพนามก็สำคัญนะครับต้องเลือกให้เหมาะสมกับตัวนามตัวนั้นๆและการละเทศะด้วยนะครับ หากว่าเราแปลบทที่คนด่ากันแต่ใช้ศัพท์สูงก็คงดูแปลกพิลึกนะครับ
6 สันธาน (Conjunction) สันธานถ้าเป็นในภาษาไทยก็จะหมายถึงคำที่ใช้เชื่อมคำ words, วลี (phrases) หรือ ประโยค (clause) ตามเนื้อความที่มีเช่น และ,แต่,หรือ, ถ้า…แล้ว เป็นต้น ถ้าในภาษาอังกฤษคำที่เราเห็น ก็ได้แก่ and, but, or เป็นต้น
7 บุพบท (Preposition) คำกลุ่มนี้ในภาษาอังกฤษนับว่ามีจำนวนมากเลยถ้าเป็นในภาษาไทยลักษณะการใช้ก็เช่นเดียวกับในภาษาอังกฤษนั่นแหละครับ คือใช้เชื่อมคำกับคำ หรือ ประโยคกับคำ เช่น boy,on, in, beneath เป็นต้น เวลาแปลก็ต้องระวังคำเหล่านี้ให้ดีนะครับเพราะบางทีเราอาจพบคำพวกนี้ตามหลัง verb ด้วยก็ได้ ให้จำไว้ด้วยนะครับ เมื่อเกิดเป็นคำในลักษณะนี้ก็จะถูกเรียกว่าการทำ phrasal verb ซึ่งการสร้างคำศัพท์แบบนี้จะเป็นการทำให้คำศัพท์ คำนามมีความเปลี่ยนแปลงไปทางด้านความหมาย ยกตัวอย่างเช่น look เป็น look up จากความหมายเดิมที่แปลว่า”มอง”ก็กลายเป็น”ค้นหา”แทนเป็นต้น
8 อุทาน (xclamation) เป็นคำประเภทที่เราใช้เวลาเราตกใจหรือดีใจหรือพบกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดถ้าเป็นในภาษาไทยก็คงเป็นคำจำพวกโอ๊ย, ว๊าย, กรี๊ด, อกอีแป้นจะแตก เป็นต้น