เรียนภาษาอังกฤษ เรื่อง Comparison of Adjectives and Adverbs ตอนที่ 6 (ตอนจบ)
ถาม : การเปรียบเทียบกริยาวิเศษณ์ (Comparison of Adverb) มีไว้สำหรับอะไร? แบ่งออกเป็นกี่ขั้นอะไรบ้าง จงอธิบายมา
ตอบ : การเปรียบเทียบกริยาวิเศษณ์มีไว้สำหรับเปรียบเทียบลักษณะหรืออาการของกริยาว่า มีมากน้อยกว่ากันอย่างไร เพื่อแสดงให้ทราบว่าลักษณะอาการการิยาของบุคคลนั้นกับอีกบุคคลหนึ่งมีมากน้อยกว่ากันหรือไม่ สิ่งเหล่านี้รู้ได้โดยอาศัยการเปรียบเทียบกริยาวิเศษณ์เท่านั้น ตัวอย่างเช่น “ตาสีเดินเร็วเท่าตาสา ยายมีพูดดังกว่ายายมา” คำว่า “เร็วกว่า, เสียงดัง” เป็นคำกริยาวิเศษณ์เปรียบเทียบ คือมาเปรียบเทียบการเดินของตาสีเท่ากับตาสา การพูดเสียงดังของยายมีมากกว่ายายมาเหล่านี้เป็นต้น การเปรียบเทียบกริยาวิเศษณ์ (Comparison of adverb) แบ่งออกเป็น 3 ขั้น คือ
1. การเปรียบเทียบกริยาวิเศษณ์ที่เท่าเทียมกัน (Equality)
2. การเปรียบเทียบกริยาวิเศษณ์ที่สูงกว่าหรือดีกว่า (Comparative)
3. การเปรียบเทียบกริยาวิเศษณ์ ที่สูงที่สุดหรือดีที่สุด (Superlative)
1.1 การเปรียบเทียบกริยาวิเศษณ์ที่เท่าเทียมกัน
ได้แก่ การเปรียบเทียบลักษณะอาการกริยาระหว่าง 2 คน หรือ สิ่ง 2 สิ่ง ที่มีเท่าเทียมกันหรือเสมอกันโดยใช้รูปประโยคดังนี้ …as + Adverb + as… เช่น
He walks as quickly as his friend.
เขาเดินเร็วเท่ากับเพื่อนของเขา
Tony plays tennis as well as Billy.
โทนี่เล่นเทนนิสได้ดีเท่ากับบิลลี่
Mana spoke French as fluently as his sister.
มานะพูดภาษาฝรั่งเศสคล่องเท่ากับน้องสามของเขา
อนึ่งในการเปรียบเทียบความไม่เท่ากัน (inequality) ให้ใช้รูปประโยคดังนี้
….not so + Adverb + as…. เช่น
Tonight the stars don’t shine so brightly as they did last night.
คืนนี้ดวงดาวต่างๆ ไม่ส่องแสงจ้าอย่างคืนที่ผ่านมา
He doesn’t drive so carefully as I.
เขาขับ (รถ) ไม่ได้ระมัดระวังเท่าผมเลย
This dog doesn’t run so fast as that one.
สุนัขตัวนี้วิ่งไม่เร็วเท่ากับตัวนั้น
1.2 การเปรียบเทียบกริยาวิเศษณ์ที่สูงกว่าหรือดีกว่า
ได้แก่ การเปรียบเทียบลักษณะอาการกริยาของนามที่มีมากกว่ากันระหว่างคน 2 คน หรือสัตว์สิ่งของ 2 อย่าง โดยใช้รูปประโยคดังนี้
….Comparative Adverb + than…. เช่น
He writes more beautifully than his friend.
เขาเขียนสวยกว่าเพื่อนของเขา
I work harder than you.
ผมทำงานหนักกว่าคุณ
The horse runs more quickly than the buffalo.
ม้าวิ่งเร็วกว่าควาย
She drives move slowly than I.
หล่อนขับ (รถ) ช้ากว่าผม
3.3 การเปรียบเทียบกริยาวิเศษณ์ที่สูงที่สุดหรือดีที่สุด
ได้แก่ การเปรียบเทียบลักษณะอาการกริยาของนามที่มีจำนวนตั้งแต่ 3 ขึ้นไป บ่งบอกให้ทราบว่าในจำนวนเหล่านี้ คนไหน, สิ่งไหน มีกริยาอาการเป็นที่สุด โดยใช้รูปประโยคดังนี้
….Superlative Adverb เช่น
Of the three boys, Daeng played the piano fastest.
ในเด็ก 3 คนนั้น แดงเล่นเปียโนได้รวดเร็วที่สุด
Narong studies hardest in his class.
ณรงค์เรียนอย่างจริงจังที่สุดในชั้นของเขา
Sri speaks clearly. Porn speaks more clearly than Sri. Pin speaks most clearly.
ศรีพูดชัดเจน พรพูดชัดเจนกว่าศรี พินพูดชัดเจนที่สุด
การทำกริยาวิเศษณ์จากขั้นปกติให้เป็นขั้นกว่าและขั้นที่สุด
ถาม : คำกริยาวิเศษณ์เมื่อต้องการให้เป็นขั้นกว่าและขั้นที่สุดจะทำได้อย่างไร ขอให้บอกมาโดยละเอียด
ตอบ : คำกริยาวิเศษณ์ที่เป็นขั้นปกติ เมื่อต้องการให้เป็นขั้นกว่าและขั้นที่สุดให้ทำได้ดังต่อไปนี้
1)กริยาวิเศษณ์ที่มีพยางค์เดียว เมื่อต้องการให้เป็นขั้นกว่า ให้เติม er และเมื่อต้องการให้เป็นขั้นที่สุดให้เติม est เช่น
Positive
|
Comparative
|
Superlative
|
คำแปล
|
Hard
|
Harder
|
Hardest
|
หนัก
|
Fast
|
Faster
|
Fastest
|
เร็ว
|
Loud
|
Louder
|
Loudest
|
ดัง
|
Near
|
Nearer
|
Nearest
|
ใกล้
|
Etc.
|
Etc.
|
Etc.
|
|
Positive
|
Comparative
|
Superlative
|
คำแปล
|
Slowly
|
More slowly
|
Most slowly
|
อย่างช้า
|
Quickly
|
More quickly
|
Most quickly
|
อย่างเร็ว
|
Wisely
|
More wisely
|
Most wisely
|
อย่างฉลาด
|
Kindly
|
More kindly
|
Most kindly
|
อย่างกรุณา
|
Sweetly
|
More sweetly
|
Most sweetly
|
อย่างไพเราะ
|
3)กริยาวิเศษณ์ต่อไปนี้มีรูปมาโดยกำเนิดของมันเองทั้งในขั้นปกติ ขั้นกว่า และที่สุด จะเปลี่ยนรูปหรือเติมพยางค์อื่นใส่หน้าหลังดังกล่าวมาแล้วหาได้ไม่ ได้แก่คำต่อไปนี้
Positive
|
Comparative
|
Superlative
|
คำแปล
|
Well
|
Better
|
Best
|
อย่างดี
|
Badly
|
Worse
|
Worst
|
อย่างเลว
|
Much
|
More
|
Most
|
อย่างมาก
|
Little
|
Less
|
Least
|
อย่างน้อย
|
Far
|
Farther, further
|
Furthest
|
อย่างไกล
|
การใช้สรรพนามตามหลัง than ในประโยคที่มีกริยาวิเศษณ์เปรียบเทียบขั้นกว่า (Comparative Adverb)
สรรพนาม (Pronoun) ที่อยู่หลัง than หรือตามหลัง than ในประโยคที่มีคำกริยาวิเศษณ์เปรียบเทียบกว่านั้น จะใช้รูปที่เป็นประธาน (Subjective Case) หรือรูปที่เป็นกรรม (Objective Case) ก็ได้ สุดแท้แต่ความมุ่งหมายของผู้พูด เช่น
He loves you more than I. (Subject)
เขารักคุณมากกวาผม (รัก)
He loves you more than me. (Object)
เขารักคุณมากกว่า (รัก) ผม
(ประโยคทั้ง 2 ข้างบนนี้ถูกด้วยกันทั้งคู่ แต่ความมุ่งหมายของใจความต่างกัน กล่าวคือ ประโยคแรกใช้ 1 ตามหลัง than มีความหมายว่า เขาและผมต่างก็รักคุณด้วยกันทั้งนั้น เพียงแต่เขารักคุณมากกว่าผมรัก ดังนั้นหลัง than จึงใช้ I เพราะมุ่งความเป็นผู้กระทำกริยา อันที่จริงประโยคนี้จะเขียนเสียใหม่ว่า He loves you more than I love you. ก็ได้ แต่ดูแล้วออกจะรุ่มร่ามเกินไปหน่อย จึงจำเป็นต้องละ love you เอาไว้เพื่อความสละสลวยของภาษา ส่วนประโยคที่สองใช้ me ตามหลัง than ผู้พูดมีความมุ่งหมายว่า ผม (me) เป็นกรรม (object) ของกริยา loves เช่นเดียวกับ you ซึ่งประโยคนี้ก็เช่นกัน ถ้าจะเขียนเสียใหม่ว่า He loves you more than he loves me. ก็ได้ แต่จะทำให้รูปประโยครุ่มร่ามจนน่าเกลียดเอาแท้ๆ เพราะฉะนั้นจึงละ he loves เอาไว้ในฐานเข้าใจก็แล้วกัน
ประโยคต่อไปนี้โดยเหตุผลเดียวกับที่กล่าวมาแล้ว เช่น
She detests you more than I.
(=she detests you more than I detest you.)
หล่อนเกลียดชังคุณมากกว่าผม
You like him more than me.
(=You like him more than you like me.)
คุณชอบเขามากกว่าผม