เรียนภาษาอังกฤษ เรื่อง Adverb ตอนที่ 5
4) ถ้าประโยคนั้นเป็นประโยคอุทาน และขึ้นต้นประโยคด้วย how ให้วาง Adverb บอกกริยาอาการไว้หลัง how ตลอดไปเช่น
How nicely she dances! หล่อนเต้นรำช่างสวยงามแท้
How late you come to school! คุณมาโรงเรียนสายอะไรอย่างนี้
How hard he works! เขาทำงานหนักแท้หนอ
(nicely, late, hard เป็น Adverb บอกกริยาอาการ ดังนั้นในประโยคอุทานจึงต้องเรียงไว้หลัง how ขอให้จดจำไว้ให้ดีนะที่รักของคนอื่น ฮ่าๆๆๆ)
5) ในประโยคกรรมวาจก (Passive Voice) ถ้ามี Adverb บอกกริยาอาการมาขยายให้เรียงไว้หน้ากริยาช่อง 3 (Past Participle) เช่น
Soonthorn Poo, the great poet of Thailand, is well known among students.
สุนทรภู่นักกวีผู้ยิ่งใหญ่ของเมืองไทยเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักเรียนนักศึกษา
(Well เป็น Adverb บอกกริยาอาการ เมื่อนำมาใช้ขยายกริยาในประโยคกรรมวาจกต้องเรียงหน้ากริยาช่อง 3 คือ known)
The report of Thai economics has been carefully done by the economic expert.
(carefully เป็น Adverb บอกกริยาอาการ เมื่อมาขยายกริยาในประโยคกรรมวาจก ก็ต้องเรียงไว้หน้ากริยา ช่อง 3 คือ Done )
6) Adverb บอกกริยาอาการบางตัวเช่น Greatly, strongly, หรือ thoroughly นิยมวางไว้ระหว่างประธานและกริยาเสมอ แม้ประโยคนั้นจะสั้นหรือยาวก็ตาม เช่น
Somsak greatly admires his father.
สมศักดิ์ชมเชยพ่อของเขาอย่างใหญ่หลวง
He’s strongly opposed to working hard.
เขาคัดค้านอย่างแข็งขันที่จะทำงานหนัก
The boys and girls thoroughly enjoy watching the concert.
เด็กชายและเด็กหญิงสนุกสนานกับการดูดนตรีตลอดเวลา
(คำทั้ง 3 ต้องเรียงไว้ระหว่างประธานและกริยาตลอดไป)
7) สำหรับกริยาวลี (Phrasal Verb) บางตัวเช่น Come in (เข้ามาข้างใน), go out (ออกไปข้างนอก) ถ้ามี Adverb บอกกริยาอาการเฉพาะที่ลงท้ายด้วย “ly” มาขยาย จะเรียงไว้หน้ากริยาและหรือท้ายประโยคได้ทั้งนั้น เช่น
Sawat quietly came in. หรือ Sawat came in quietly.
Mary slowly went out. หรือ Mary went out slowly.
– สวัสดิ์เข้ามาข้างในอย่างเงียบๆ
– แมรี่เดินออกไปข้างนอกอย่างช้าๆ
แม้ไปพบเห็นประโยคอื่นๆ ก็ให้นำเอาตัวอย่างนี้ไปเทียบเคียงได้
ถาม : ถ้า Adverb บอกเวลา (Time), บอกสถานที่ (Place), บอกความถี่ (Frequency), และบอกกิริยาอาการ (Manner) มาขยายกริยาพร้อมทีเดียว มีหลักเกณฑ์การวางอย่างไร?
ตอบ : Adverb ทั้ง 4 ชนิดที่กล่าวมา เมื่อมาขยายกริยาพร้อมกัน มีหลักเกณฑ์การวางดังนี้
ก) ถ้าไปขยายกริยาทั่วไป (อันไม่ใช่กริยาที่เกี่ยวกับความเคลื่อนไหว) ให้วาง Adverb บอกกิริยาอาการไว้หน้าสุด ตามด้วย Adverb บอกสถานที่ Adverb บอกสถานที่ และพ่วงท้ายขบวนด้วย Adverb บอกเวลา ดังจะแสดงสัญลักษณ์ให้ดูง่ายๆ กันดังต่อไปนี้
อันดับที่ 1
กริยาอาการ
Manner
|
à
|
อันดับ 2
สถานที่
Place
|
à
|
อันดับ 3
ความถี่
Frequency
|
à
|
อันดับ 4
เวลา
Time
|
เช่น : – Nanthida sang sweetly at the restaurant once a week two month ago.
นันทิดาร้องเพลงอย่างไพเราะอยู่ที่ภัตตาคารนี้สัปดาห์ละครั้งเมื่อ 2 เดือนที่ผ่านมา
Manop worked hard here every day last year.
มานพทำงานหนักอยู่ที่นี่ทุกๆวัน เมื่อปีที่แล้ว
They used to play football enthusiastically in the rain several times last month.
พวกเขาเคยเล่นฟุตบอลอย่างกระตือรือร้นในท่ามกลางฝนหลายครั้งเมื่อเดือนที่แล้ว
ข) ถ้า Adverb ทั้ง 4 ชนิด ไปขยายกริยาที่แสดงการเคลื่อนไหว (Verb of Movement) ให้เอา Adverb บอกสถานที่นำหน้าสุด แล้วตามด้วย Adverb บอกกิริยาอาการ Adverb บอกความถี่ และ Adverb บอกเวลาตามลำดับ ดังจะแสดงลูกศรให้ดูดังต่อไปนี้ครับ
อันดับ 2
สถานที่
Place
|
à
|
อันดับที่ 1
กริยาอาการ
Manner
|
à
|
อันดับ 3
ความถี่
Frequency
|
à
|
อันดับ 4
เวลา
Time
|
เช่น I went to Chiengmai by train every Sunday last month.
ผมไปเชียงใหม่โดยทางรถไฟทุกๆวัน วันอาทิตย์เมื่อเดือนที่ผ่านมา
Arthit flew to London by B.O.A.C twice last year.
อาทิตย์บินไปลอนดอนโดยสายการบิน BOAC 2 ครั้ง เมื่อปีที่แล้ว
(ขอให้จำตัวอย่างประโยคเอาไว้นะครับทั้ง ข้อ ก. และ ข. เพื่อกันลืมในวันหน้า)