เรียนภาษาอังกฤษ เรื่อง Adverb ตอนที่ 3

1.4 ถ้าประโยคนั้น เป็นประโยคปฏิเสธโดยมี not มาแสดงการปฏิเสธ ให้เรียง Adverb บอกความถี่ไว้หลัง not ตลอดไป เช่น :

He does not always work hard.

เขาไม่ค่อยได้ทำงานหนักเท่าไรหรอก

They do not often play football in the morning.

พวกเขาไม่เล่นฟุตบอลในตอนเช้าบ่อยนัก

(Always, often เรียงหลัง not ตลอดไป)

อนึ่ง Adverb บอกความถี่ที่มีเนื้อความเป็นเชิงปฏิเสธ เช่น never, seldom, hardly, rarely, scarcely ถ้าต้องการเน้นจะนำไปวางไว้ต้นประโยคก็ได้ และกรณีนี้ประธานกับกริยาต้องวางสลับที่กันเหมือนรูปประโยคคำถาม (แต่ไม่ใช่คำถามน่ะจ๊ะ อย่าเข้าใจผิด) เช่น

Never did she regret leaving her house.

เธอไม่รู้สึกเสียใจอะไรเชียวนะที่ปล่อยทิ้งบ้านเอาไว้ (โดยไม่มีคนเฝ้า)

Seldom do I get a chance to do this for you.

ผมไม่ค่อยมีโอกาสที่จะทำสิ่งนี้ให้คุณเลย

Scarcely had the rain stopped when the players went onto the field.

(ดูซิ ฝน (บ้าอะไรก็ไม่รู้) ตกแทบจะไม่หยุดเอาเสียเลย เมื่อผู้เล่นก้าวลงสู่สนาม

(อย่างไรก็ตามการเรียง Adverb บอกความถี่ตามที่กล่าวมานี้ มักนิยมเมื่อเป็นภาษาเขียนมากกว่าภาษาพูด)

2.) ชนิดที่เป็นกลุ่มคำได้แก่ : Every three months, every day, once a week, twice a month, every other day (วันเว้นวัน), as often as you wish (ตอนไหนก็ได้ที่คุณต้องกาน), Several time etc. Adverb บอกความถี่ที่เป็นกลุ่มคำเหล่านี้ เมื่อนำไปพูดหรือเขียนนิยมวางไว้ท้ายประโยคเสมอ เช่น :

Somsri visits her come every three months.

สมศรีไปเยี่ยมบ้านเธอทุก 3 เดือน

This man goes to see his girl-friend twice a month.

ชายคนนี้ไปหาแฟนของเขาเดือนละ 2 ครั้ง

Write to me as often as you wish.

เขียนไปหาผมตอนไหนก็ได้ที่คุณต้องการ

(เห็นไหม every three month, twice a month, as often as you wish ล้วนแล้วแต่วางไว้ท้ายประโยคทั้งนั้น แล้วอย่างนี้จะมาบอกว่า “ผมยังไม่เข้าเลยอาจารย์ได้อย่างไรกัน?”)

ถาม : ถ้าในประโยคหนึ่ง ๆ มี Adverb ทั้ง 3 ชนิด คือ Adverb บอกเวลา, Adverb บอกสถานที่ และ Adverb บอกความถี่มาขยายกริยาพร้อมกันทีเดียวทั้ง 3 ตัว จะมีหลักเกณฑ์การวางอย่างไร ขอให้อธิบายให้ฟังด้วย?

ตอบ : ถ้า Adverb ทั้ง 3 ชนิดดังกล่าวมาแล้วทั้งนั้น บังเอิญมาขยายกริยาพร้อมกันอยู่ในประเทศเดียว มีหลักเกณฑ์การวางหน้าหลังกันดังต่อไปนี้ คือ Adverb บอกสถานที่อยู่หน้า Adverb บอกความถี่อยู่กลาง Adverb บอกเวลาอยู่ท้ายสุด หรือจะให้ว่าเป็นคำกลอนก็ได้ฟังน่ะ

Place
อยู่หน้า
Frequency
อยู่กลาง
Time
อยู่ท้าย

โปรดดูตารางตัวอย่างประโยคการวาง

Sentences
Place อยู่หน้า
Frequency อยู่กลาง
Time อยู่ท้าย
My father has been
คุณพ่อของฉันได้ไป
To London
ลอนดอน
Several times
หลายครั้งแล้ว
This year.
ปีนี้
He took me for lunch
เขาพาผมไปทานอาหารกลางวัน
At the restaurant
ที่ภัตตาคารแห่งนี้
Twice a week
สัปดาห์ละ 2 ครั้ง
Three months ago. เมื่อ 3 เดือนที่ผ่านมา
I must go to see a doctor
ผมต้องไปพบหมอ
At his clinic
ที่คลินิกของเขา
Many times
หลายครั้งแล้ว
This month.
เดือนนี้
He goes
เขาไป
To Japan
ญี่ปุ่น
Every day
ทุกๆวัน
Nowadays.
หมู่นี้

อย่างไรก็ตาม Adverb ทั้ง 3 ชนิดที่กล่าวมานี้ อาจจะไม่เรียงไปตามกฎก็ได้ นั่นคือเราสามารถที่เอา Adverb of Time ขึ้นไปวางไว้ต้นประโยคได้ ถ้าเราต้องการจะเน้นเวลาให้เป็นจุดเด่น เช่น

Last semester the Professor gave lectures at the faculty

Last semester (บอกเวลา)

at the faculty (บอกสถานที่)

four hours a week; but this semester he is lecturing

four hours a week (บอกความถี่)

this semester (บอกเวลา)

at this building three hours a week.

(บอกสถานที่) (บอกความถี่)

เมื่อภาคการศึกษาที่แล้ว ท่านศาสตราจารย์ได้บรรยายอยู่ที่คณะนั้น สัปดาห์ละ 4 ชั่วโมง แต่ภาคการศึกษานี้ ท่านได้มาบรรยายอยู่ที่ตึกหลังนี้สัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง

5. Adverb of Manner (แปลว่า “กริยาวิเศษณ์บอกกริยาอาการ”) หมายถึงคำหรือได้แก่คำที่ไปทำหน้าที่ขยายกริยาเพื่อตอบคำถามว่า How (อย่างไร) การกระทำหรือเหตุการณ์นั้นๆ เกิดขึ้นมาได้อย่างไร พฤติกรรมดังกล่าวมานี้จะฟังชัดแจ้งขึ้นได้ ก็ต้องอาศัย Adverb of Manner เข้ามาเป็นตัวกำหนดหรือร่วมวงไพบูลย์ด้วย

กริยาวิเศษณ์บอกกริยาอาการ ส่วนมากจะมีรูปมาจาก Adjective (คือคุณศัพท์) โดยการเติม ly ลงข้างหลังคุณศัพท์ตัวนั้น แล้วนำมาใช้เป็นกริยาวิเศษณ์บอกกริยาอาการได้ เช่น

เป็น Adjective
เป็น Adverb
คำแปล
Slow
Slowly
ช้า
Bad
Badly
เลว
Quick
Quickly
รวดเร็ว, ไว
Careful
Carefully
ระมัดระวัง
Happy
Happily
มีความสุข
Etc. เป็นต้น

หรืออาจเป็นกลุ่มคำโดยมีรูปมาจาก Preposition + นาม (ที่เป็นยานพาหนะ) ก็ได้ เช่น by care (โดยรถยนต์), by train (โดยรถไฟ), by boat (โดยเรือ), by plane (โดยเครื่องบิน), by bicycle (โดยรถจักรยาน), by tricycle (โดยรถสามล้อ) etc.

อนึ่ง Adverb of Manner บางคำเป็นคำเดียวกับที่ใช้เป็น Adjective โดยไม่เติม ly ข้างหลังก็มี เช่น hard (ยาก, หนัก), fast (รวดเร็ว) แต่ทั้งนี้จะรู้ได้ว่าเป็น Adjective หรือ Adverb นั้น ต้องดูที่ตำแหน่งวางนั่นคือ ถ้าอยู่หน้านามเป็นคุณศัพท์ แต่ถ้าอยู่หลังกริยาก็เป็น Adverb ไปเช่น :

He is a hard worker. เขาเป็นคนทำงานหนัก

Somsak works hard. สมศักดิ์ทำงานอย่างหนัก

(Hard ตัวแรกเป็นคุณศัพท์เพราะวางอยู่หน้าราม worker ส่วน hard ตัวหลังเป็น Adverb บอกกริยาอาการเพราะเรียงตามหลักกริยา works)

Suchat is a fast runner. สุชาติเป็นนักวิ่งเร็ว

Peter runs fast. ปีเตอร์วิ่งเร็ว

(fast ตัวแรกเป็นคุณศัพท์เพราะเรียงไว้หน้านาม runner ส่วนตัวหลังเป็น
Adverb เพราะวางตามหลังกริยา runs)