ถาม : Adverbs แบ่งออกเป็นกี่ชนิด อะไรบ้าง ? และแต่ละชนิดเมื่อนำมาใช้มีตำแหน่ง (Position of Adverb) วางไว้ตรงไหนในประโยค ขอให้อาจารย์สำราญอธิบายให้ฟังด้วย ?
ตอบ : Adverb แบ่งออกเป็นหมวดใหญ่ๆ ได้ 3 หมวด คือ
1. Simple Adverb กริยาวิเศษณ์สามัญ
2. Interrogative Adverb กริยาวิเศษณ์คำถาม
3. Conjunctive Adverb กริยาวิเศษสันธาน
แต่ละ Adverb ใหญ่ที่กล่าวมา ยังแบ่งเป็นปลีกย่อยได้ดังนี้
1.1 Simple Adverb (กริยาวิเศษณ์สามัญ) แบ่งออกเป็นปลีกย่อยได้อีก 8 ชนิด คือ
1. Adverb of Time (แปลว่า “กริยาวิเศษณ์บอกเวลา”) หมายถึง กริยาวิเศษณ์ที่ใช้ขยายกริยาเพื่อแสดงเวลา แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
ก.) ประเภทที่เป็นคำเดียว ไม่มีคำอื่นมาร่วมด้วย ได้แก่
Today, yesterday, tomorrow, late, lately, recently, early, before, tonight, now, then, soon, still, yet, already, just, afterwards, etc.
ข) ประเภทที่มีคำอื่นมาประกอบด้วย (Adverbial Phrases of Time) ได้แก่
This morning, in the afternoon, last week, last month, next year, on Sunday, next Monday, before three o’ clock, two weeks ago, the day after tomorrow, during summer, in B.E. 2520, in January, on 5th February, etc.
ค) ประเภทที่เป็นประโยคเพื่อมาขยายกริยาแสดงเวลา (Adverbial Clause of Time แปลว่า “วิเศษณานุประโยคแสดงเวลา) ซึ่งจะขึ้นต้นประโยคของมันเองด้วยคำเหล่านี้ When, Since, until, after, before, as soon as ฯลฯ ส่วนตำแหน่งการวางวิเศษณานุประโยคแสดงเวลานั้นจะอยู่ส่วนใดของประโยคหลักได้ทั้งนั้น เช่น
When you have time, come and see me, please.
เมื่อคุณมีเวลาก็ขอเชิญมาเยี่ยมผมบ้างน่ะ
He ran away as soon as he had seen a tiger.
เขาวิ่งหนีทันทีที่เขาได้เห็นเสือ
ถาม : Adverb บอกเวลามีหลายชนิดหรือหลายประเภท ฉะนั้นเมื่อมันไปขยายกริยาเพื่อบอกเวลาจะมีหลักเกณฑ์การวางอย่างไร?
ตอบ : Adverb บอกเวลาเมื่อมาขยายกริยามีหลักการวางในประโยคดังนี้
1. โดยปกติทั่วไปจะวางไว้สุดประโยคเสมอ โดยเฉพาะเมื่อข้อความนั้นเป็นประโยคสั้นๆ เช่น
Mr. Smith will leave for London tomorrow.
มร. สมิธจะออกเดินทางกลับไปยังกรุงลอนดอนวันพรุ่งนี้
Chaiya used to live in Bangkok two years ago.
ไชยาเคยอยู่กรุงเทพฯเมื่อ 2 ปีล่วงมาแล้ว
2. ถ้าต้องการจะเน้นเวลาให้เป็นกรณีพิเศษ ก็ให้วางไว้ต้นประโยค เช่น
Last week we went to Chiengmai by train.
สัปดาห์ที่ผ่านมาเราไปเที่ยวเชียงใหม่โดยทางรถไฟ
Yesterday he stayed in Singapore; today he’s staying in India.
เมื่อวานนี้เขาพักที่สิงคโปร์ วันนี้เขาพักที่อินเดีย
3. ถ้ามี Adverbs of Time หลายคำหรือหลายประเภทมาอยู่ในประโยคเดียวกันให้วางจากหน่วยเล็กไปหาหน่วยใหญ่ (Small units of time come before larger ones) เสมอ เช่น
Ladda’s family is going to visit me five O’clock in the afternoon on the first of May, 1984
ครอบครัวของลัดดาจะไปเยี่ยมผมเวลาบ่อย 5 โมงในตอนบ่ายของวันที่ พฤษภาคน 1984
I go to bed at seven o’clock in the evening on Sunday.
ผมจะไปนอนเวลา 1 ทุ่มตอนเย็นวันอาทิตย์
At three O’clock tomorrow, I will meet you in front of the Intra Theatre.
เวลาบ่าย 3 โมงพรุ่งนี้ ผมจะไปพบคุณที่หน้าโรงหนังอินทรา
หมายเหตุ : ถ้าผู้พูดต้องการจะเน้นเวลาที่เป็นหน่วยใหญ่ มากกว่าเวลาที่เป็นหน่อยย่อย ก็สามารถที่จะวางเวลาที่เป็นหน่วยใหญ่นั้นไว้หน้าเวลาที่เป็นหน่วยย่อยได้ แต่หลังเวลาที่เป็นหน่วยใหญ่นั้นต้องใส่ Comma (,) เสมอ เช่น
The plane arrived yesterday, about four o’clock.
เครื่องบินได้มาถึงเมื่อวานนี้ ประมาณบ่าย 4 โมง
Today, at twelve o’clock the teachers will have meeting.
วันนี้เวลา 12.00 น. ครูจะมีการประชุมกัน
อนึ่ง คำต่อไปนี้ คือ morning, afternoon, evening ตามความหมายแม้จะเป็นเวลาหน่วยย่อย หากนำไปใช้ร่วมกับวันของสัปดาห์แล้ว ให้เรียงไว้หลังวันทั้ง 7 ของสัปดาห์ตลอดไป เช่น
Sunday morning, Monday afternoon, Tuesday evening, Saturday afternoon, etc. เช่น
You should return the book at nine o’clock on Monday morning.
คุณควรจะเอาหนังสือมาคืนเวลา 9 นาฬิกาเช้าวันจันทร์
2. Adverb of Duration (แปลว่า กริยาวิเศษณ์บอกระยะเวลา) ต่างกันกับ Adverb of Time ก็ตรงที่ว่า Adverb of Time ตอบคำถามว่า When (เมื่อไร) ส่วน Adverb of Duration ตอบคำถามว่า How long (นานเท่าไร) ซึ่งเป็นการให้คำตอบที่เกี่ยวกับระยะความยาวของเวลาว่า นานเท่าไหร่ ตั้งแต่เวลาไหนถึงเวลาไหน หรือจนกระทั่งถึงไหนเหล่านี้เป็นต้น แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ
1.) ชนิดกลุ่มคำที่นำหน้าด้วย for เช่น
I have studied English for five years.
ผมได้ศึกษาภาษาอังกฤษมาแล้วเป็นเวลา 5 ปี
(for five years เป็นกริยาวิเศษณ์บอกระยะเวลาของการเรียน)
2.) ชนิดกลุ่มคำที่นำหน้าด้วย from…to หรือ from…..till (until) “ตั้งแต่…ถึง, ตั้งแต่….จนกระทั่ง” เช่น
My father works from nine to twelve.
คุณพ่อของผมทำงานตั้งแต่ 9 นาฬิกา ถึง 12 นาฬิกา
She studies from Monday till Friday.
หล่อนเรียนตั้งแต่วันจันทร์จนกระทั่งถึงวันศุกร์
Wichit will say here from May until December.
วิชิตจะพักอยู่ที่นี่ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมจนถึงธันวาคม
(from nine to twelve, from Monday till Friday และ from May until December เป็น Adverb บอกระยะเวลา)
3.) ชนิดกลุ่มคำที่นำหน้าด้วย till, until, หรือ up to (ทั้ง 3 คำแปลว่า “จนถึง”) เช่น
We will work with this company till next year.
พวกเราจะทำงานอยู่กับบริษัทนี้จนถึงปีหน้า
(till next year เป็น Adverb บอกระยะเวลาการทำงาน)
Magaret will stay here until tomorrow morning.
มากาเร็ตจะพักอยู่ที่นี่จนถึงเช้าวันพรุ่งนี้
(until tomorrow morning เป็น Adverb บอกระยะเวลา)
My uncle will work in Saudi Arabia up to next year.
ลุงของผมจะทำงานอยู่ที่ซาอุดิอาระเบียจนถึงปีหน้า
(up to next year เป็น Adverb แสดงระยะเวลาการทำงาน)
3. Adverb of Place (แปลว่า “กริยาวิเศษณ์บอกสถานที่) หมายถึง คำหรือกลุ่มคำที่มาทำหน้าที่ขยายกริยา เพื่อบอกสถานที่หรือเพื่อตอบคำว่า “Where” (ที่ไหน) Adverb of Place ถ้าดูให้ดีแล้ว ส่วนใหญ่ก็ได้แก่บุรพบท (Preposition) นั่นเอง เช่น : in, on, at, near, off, by, over, abroad, here, there, downstairs, upstairs, down, since, around, after, before, inside, outside etc. คำเหล่านี้ทั้งหมด “ถ้านำมาใช้ตามหลักริยาโดยไม่มีคำอื่นต่อท้ายมันอีก ก็จะทำหน้าที่เป็นกริยาวิเศษณ์บอกสถานที่ หรือ Adverb of Place ทันที” (แต่ถ้ามีคำอื่นต่อท้ายคำเหล่านี้จะทำหน้าที่เป็นบุรพบทคือ คำเชื่อมตัวอื่น) เช่น
Don’t leave it outside; bring it inside.
อย่าทิ้งไว้ข้างนอก เอาเข้ามาข้างในเสีย
(Outside และ Inside เป็น Adverb มาขยายกริยา leave และ bring เพื่อบอกสถานที่)
The teacher has come; please stand up.
คุณครูมาแล้วกรุณายืนขึ้น
(up เป็น adverb บอกสถานที่ มาขยายกริยา stand)
Adverb บางตัวจะวางไว้ต้นประโยคก็ได้ ส่วนมาก็ได้แก่ here และ There เช่น :
Here is the boy you are looking for.
เด็กชายที่คุณกำลังหาอยู่ อยู่นี่ไง
(Here เป็น Adverb บอกสถานที่ มาขยายกริยา is )
There is the bus we want to sit in.
รถประจำทางที่เราต้องการโดยสารอยู่นั่นอย่างไร
(There เป็น Adverb บอกสถานที่ มาขยายกริยา is)
อนึ่ง Adverb บอกสถานที่นอกจากที่เป็นคำเดียวใช้ลอย ๆ แล้วยังมี Adverb ที่เป็นกลุ่มคำ (Adverbial Phrases of Place) อีกด้วย ส่วนมากจะเกิดมาจาก “บุรพบท + นาม” (Preposition + Noun) และตำแหน่งวางนิยมเรียงไว้ท้ายประโยคเสมอ เช่น
He met with an accident at the crossroads.
เขาได้พบเส้นอุบัติเหตุที่ทางสี่แยก
(at the crossroads เป็น Adverb วลี มาขยายกริยา met เพื่อบอกสถานที่ว่า อุบัติเหตุเกิดที่ไหน)
While we were staying at the hotel of Dusit Thani, a conference was held.
เมื่อเราพักอยู่ที่โรงแรมดุสิตธานี การประชุมจึงได้จัดให้มีขึ้น
(at the hotel of Dusit Thani เป็น Adverb วลีมาขยายกริยา were staying)
owนไHoHoH