ถาม : Adverb of Manner เมื่อนำมาขยายกริยามีหลักการวางได้อย่างไรในประโยค ขอให้อธิบายมาพร้อมยกตัวอย่างประกอบด้วย?
ตอบ : Adverbs of Manner (กริยาวิเศษณ์บอกกริยาอาการ) เมื่อนำมาขยายกริยาในประโยคมีหลักการวางได้ ดังนี้ :
1) ถ้าประโยคนั้นไม่มีกรรม ให้วางไว้หลังกริยา เช่น
She dances beautifully. หล่อนเต้นรำได้อย่างสวยงาม
Kitti walks quickly. กิตติเดินอย่างเร็ว
He works hard. เขาทำงานอย่างหนัก
(beautifully, quickly, hard จะเห็นว่าเรียงตามหลังกริยาโดยตรง ทั้งนี้เพราะกริยา 3 ตัวนี้ไม่มีกรรม)
2) ถ้าประโยคนั้นมีกรรม ให้วางไว้หลังกรรม เช่น
My son speaks English well.บุตรชายของผมพูดภาษาอังกฤษเก่ง
He writes a composition quickly. เขาเขียนเรียงความได้รวดเร็วทีเดียว
Your sister plays tennis beautifully.ลูกสาวของคุณเล่นเทนนิสได้สวยงามทีเดียว
(well, quickly, beautifully วางตามหลังกรรมทั้งนั้น เห็นแล้วใช่ไหม?)
ข้อยกเว้น : ถ้ากรรมของกริยาในประโยคนั้น เป็นกรรมและมีตัวขยายด้วยให้วาง
Adverb of Manner ไว้หน้ากริยา เช่น
The clerk carefully put the pen and paper into the drawer.
เสมียนเอาปากกาและกระดาษใส่เข่าไปในลิ้นชักอย่างระมัดระวัง
He slowly wrote a letter to his friend in the United states of America.
เขาเขียนจดหมายถึงเพื่อนของเขาที่อยู่ในสหรัฐอเมริกาอย่างช้าๆ
อนึ่ง ถ้าผู้พูดต้องการจะเน้น Adverb of Manner ให้เป็นจุดสำคัญในประโยคให้วางไว้หน้ากริยาตลอดไป ไม่ว่าประโยคนั้นจะมีกรรมสั้นหรือกรรมยาวก็ตาม เช่น
Mr. William successfully completed the experiments.
มร. วิลเลี่ยม ได้ทำการทดลองจนประสบความสำเร็จ
3) ถ้าประโยคนั้น Adverb of Manner มาขยายทั้งกริยาและกรรมร่วมกัน (Modifies the verb and object together) ให้วางไว้หลังกรรมตลอดไป เช่น
Laddawan speaks English fluently.
ลัดดาวัลย์พูดภาษาอังกฤษ ได้คล่อง
(Fluently ไปขยายทั้ง speaks และ English เพราะฉะนั้นจึงมีความหมายว่า “พูดอังกฤษได้คล่อง” ไม่ใช่ “พูดคล่อง” เฉยๆ เข้าใจหรือยังจ๊ะ?
The sun is shining the world brightly.
ดวงอาทิตย์ส่องโลกให้สว่างไสว
(ประโยคนี้ก็เช่นกัน brightly เป็น Adverb บอกกริยาอาการ มาขยายทั้งกริยา is shining และตัวกรรม the world เพราะฉะนั้นจึงมีความว่า “ส่องโลกให้สว่างไสว” มิใช่ “ส่องสว่างไสว”)