เรียนภาษาอังกฤษ เรื่อง Adverb ตอนที่ 6 (ตอนจบ)

6. Adverb of Quantity
(ตำราบางเล่มเรียก Adverb of Degree) แปลว่า “กริยาวิเศษณ์บอกปริมาณหรือบอกระดับความมากน้อย หมายถึงคำที่ไปขยาย Adjective (คุณศัพท์) หรือ ขยายคำ Adverb (กริยาวิเศษณ์) ด้วยกันเองก็ได้ เพื่อบอกให้ทราบถึงปริมาณว่ามากน้อยขนาดไหน ได้แก่คำต่อไปนี้ Very, quite, too, rather, fairly, nearly, just, almost, enough, extremely, absolutely, much, entirely, completely, really, so, only เป็นต้น Adverb บอกปริมาณ เมื่อไปขยายคำใด ก็ให้วางไว้หน้าคำนั้น คือหน้าคำที่มันไปขยาย เช่น

He has too much money to give me.

เขามีเงินมากเหลือเกินที่จะให้ผม

(too เป็น Adverb ไปขยาย much จึงวางไว้หน้า much)

I had almost finished my meal when he came in.

ผมเกือบจะทานอาหารเสร็จแล้ว เมื่อเอาเข้ามาข้างใน

(almost เป็น Adverb ไปขยายกริยา finished)

He walked very quickly to school yesterday.

เขาเดินเร็วมากไปโรงเรียนเมื่อวานนี้

(Very เป็น Adverb ไปขยายคำกิริยาวิเศษณ์ คือ Quickly)

I climb up until I have nearly reached the top, but in vain.

ผมปีนขึ้นไปจนกระทั่งผมใกล้จะถึงยอดแล้ว แต่ก็ล้มเหลวเสีย

(Nearly เป็น Adverb มาขยายกริยา reached จึงวางไว้หน้า)

My younger sister can just read English.

น้องสาวคนเล็กของผมพึ่งจะสามารถอ่านภาษาอังกฤษได้

(Just เป็น Adverb มาขยายกริยา read จึงวางไว้หน้า read)

Kiat has extremely succeeded in job.

เกียรติได้ประสบความสำเร็จในการทำงานอย่างมาก

(Extremely เป็น Adverb มาขยาย Succeeded จึงวางไว้หน้ามัน)

Quite เมื่อไปขยาย Adjective ธรรมดามีความหมายว่า ปานกลาง, พอประมาณ, พอใช้ เช่น

He is quite clever. เขาฉลาดพอใช้ได้

She’s quite diligent. หล่อนมีความเพียรดี

แต่เมื่อ quite ไปขยาย Adjective ที่มีความหมายสูงสุดในตัวมันเอง แล้วจะทำให้คำที่ quite ไป ขยายนั้นมีความหมายว่า “เด็ดขาด, แน่นอน, หรือสิ้นเชิง” เช่น

That matter is quite untrue. เรื่องนั้นไม่จริงแน่นอน

He’s quite lazy. เขาเป็นคนขี้เกียจจริงๆ

That girl is quite mad. เด็กหญิงคนนั้นเป็นบ้าอย่างแน่นอน

อนึ่ง ถ้า quite ไปนำหน้านามเอกพจน์ที่นับได้ นามนั้นต้องใช้ a, an นำหน้าทันที เช่น

Today is quite a nice day. วันนี้เป็นวันที่อากาศแจ่มใสเสียจริงๆ

He is quite a fool. เขาเป็นคนโง่เสียเหลือเกิน

Rather แปลว่า “ค่อนข้าง” ใช้ขยาย Adjective ที่ไม่พึงประสงค์ หรือไม่ปรารถนา เช่น

Today it is rather hot.

วันนี้อากาศค่อนข้างร้อน

My servant is rather lazy.

คนไข้ของผมค่อนข้างขี้เกียจ

The situation looks rather dangerous.

สถานการณ์ค่อนข้างอันตราย

ถ้าไปขยายนามเอกพจน์ นับได้ ต้องใช้ a, an นำหน้า นามนั้น เช่น

That’s rather an excellent idea.

นั่นเป็นความคิดค่อนข้างวิเศษทีเดียว

หรือจะใช้ขยายคุณศัพท์เปรียบเทียบขั้นกว่า (Comparative degree) ก็ได้ เช่น

Wanchai ate rather more than his elder brother.
วันชัยทานค่อนข้างมากกว่าพี่ชายของเขา

Fairly แปลว่า “ค่อนข้าง” ใช้ขยาย Adjective ที่มีลักษณะไปในทางที่ดี ในทางที่พึงประสงค์ (ซึ่งตรงกันข้ามกับ rather) เช่น

His marks are fairly good for this examination.

คะแนนของเขาค่อนข้างดีสำหรับการสอบครั้งนี้

Although she has never been taught, she cooks fairly well.

ถึงแม้ว่าหล่อนจะไม่ได้รับการบอกสอนมา หล่อนก็ยังทำกับข้าวค่อนข้างอร่อย

7. Adverb of Affirmation or Negation (แปลว่า “กริยาวิเศษณ์ที่แสดงการกล่าวรับหรือปฏิเสธ) หมายถึงคำที่ไปขยายกริยาเพื่อบอกให้ทราบถึงการกล่าวรับหรือกล่าวปฏิเสธได้แก่คำต่อไปนี้คือ

Yes, no, not, surely, certainly, perhaps, probably, indeed, definitely, obviously, etc. เช่น

He did not come here. เขายังไม่มาที่นี่เลย

Surely you are mistaken. แน่นอนคุณเป็นฝ่ายผิด

Perhaps she will tell you the truth.

บางทีหล่อนจะบอกความจริงให้คุณทราบ

Manop will probably return today.

มานพอาจจะกลับมาวันนี้ก็ได้

It is, indeed, a hard case. มันเป็นเรื่องที่ยากจริงๆ

He is certainly a good man. เขาเป็นคนดีจริงๆ

She can definitely understand what I said this morning.

หล่อนสามารถเข้าใจสิ่งที่ผมพูดเมื่อเช้านี้อย่างแน่แท้

Could you explain this story obviously?

คุณอธิบายเรื่องนี้ให้ชัดเจนอีกได้ไหม?

Yes, certainly. ได้ครับ

Does Renu speak Chinese? No, she doesn’t.

เรนูพูดภาษาจีนหรือ? เปล่า หล่อนไม่ได้พูด

Not, surely, perhaps, probably, indeed, certainly, definitely, obviously, yes, no ที่กล่าวมาในประโยคด้านบน เป็นคำกริยาวิเศษณ์บอกกล่าวรับและปฏิเสธ ซึ่งตำแหน่งการวางก็มีลักษณะคล้ายๆกับ Adverb บอกเวลาหรือบอกสถานที่ คืออยู่ต้นประโยคบ้าง ถ้าต้องการเน้น อยู่หลังกริยาบ้าง และหรืออยู่ท้ายประโยคบ้าง ก็หวังว่าทุกท่านจะเข้าใจตามที่อธิบายมานี้ด้วย

8. Adverb of Exclamation แปลว่า “กริยาวิเศษณ์บอกอุทาน”) หมายถึงคำที่ไปขยายคุณศัพท์ หรือ Past Participle (คือ verb ช่อง 3 ที่นำมาใช้อย่างคุณศัพท์) ในประโยคอุทานได้แก่ How (แท้หนอ, เหลือหลาย, อะไรอย่างนี้) และตำแหน่งการวาง How ที่นำมาใช้ในรูปประโยคอุทาน ต้องวางไว้หน้าประโยคเสมอ โดยมีรูป Pattern ได้ดังนี้

How + Adjective + Subject + Verb to be !

เช่น How happy we were! เรามีความสุขกันแท้หนอ

How pleased he was! เขามีความพอใจเหลือหลาย

How beautiful she is! หล่อนสวยอะไรอย่างนี้ เป็นต้น