ผู้แปลส่วนใหญ่หรือแม้แต่ตัวผมเองก็มักพบกับปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยๆ เลย คือ จะเลือกคำอะไรดี และสำนวนบางสำนวนเราอาจแปลได้ยากเหลือเกิน เพราะเราไม่เข้าใจถึงความหมายที่แท้จริงของสำนวนนั้นๆ นั่นเอง นอกจากปัญหาดังที่กล่าวมาแล้วนั้น ก็ยังมีลักษณะอื่นๆ อีกด้วยที่จะกล่าวต่อไป โดยจะกล่าวอย่างคร่าวๆก็แล้วกันน่ะครับ..เพราะจะมีการพูดถึงเจาะจงอีกทีสำหรับบางเรื่องที่ไม่ได้ลงรายละเอียดไว้ในบทเรียนนี้ครับ

1. ไม่เข้าใจความหมายของคำศัทพ์
    ในบางกรณีศัพท์บางคำก็มีการลักหลั่นได้ เช่น คำว่า ป้องกันในภาษาไทย..ในภาษาอังกฤษมีหลายคำ เช่น Protect, prevent, Defend, Guard, Keeper เป็นต้น ทำให้เวลาแปลเป็นภาษาไทยก็ต้องเลือกใช้ประโยคเพื่อสื่อความหมายให้ต่างกันแทน ว่าเป็นการป้องกันลักษณะใด
    ลองมาดูความหมายของคำว่า “ป้องกัน” ในภาษาอังกฤษกันดูนะครับ ว่าแต่ละคำมีลักษณะการใช้แตกต่างกันอย่างไร
    Protect คือ การป้องกันจากเหตุการณ์ หรืออะไรบางอย่าง (เช่น ป้องกันผิวหนังจากความร้อนสูง) คือ เหตุเกิดแล้วแต่ป้องกันได้ (เหตุที่เกิดมักจะไม่ใช่เหตุการณ์เฉพาะทางที่เจาะจงมาลงที่เรา)
    Prevent คือ การป้องกัน ไม่ให้อะไรบางอย่างเกิดขึ้น (เช่น ป้องกันไม่ให้เกิดแผลผดผื่น ป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ) คือ เหตุยังไม่เกิดก็ป้องกันไม่ให้เกิด
    Defense คือ การป้องกัน ในลักษณะของการทำพฤติกรรมเฉพาะอย่าง เพื่อป้องกันเหตุบางอย่าง โดยมากมักจะเป็นการป้องกันการจู่โจม (เหตุที่เกิด มักจะเป็นเหตุการณ์เฉพาะด้าน ที่มีเป้ามุ่งมาจู่โจมที่เรา)
    Guard คือ การป้องกันจากอันตราย โดยการใส่ใจ เฝ้าระวัง นอกจากนี้ยังสามารถหมายถึง การเฝ้าระวังเพื่อไม่ให้เกิดการหลบหนีก็ได้ (ในศัพท์กีฬา ก็หมายถึงการป้องกันไม่ให้ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามสามารถเล่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ)

    ตัวอย่างของการใช้คำว่า Prevent และ Protect
Exercise at least 1 hour a day can prevent you from heart disease
    การออกกำลังกายอย่างน้อย 1 ชั่วโมงต่อวัน สามารถป้องกันโรคหัวใจได้
Exercise at least 1 hour a day can protect you from heart attack
    การออกกำลังกายนอย่างน้อย 1 ชั่วโมงต่อวันสามารถป้องกันหัวใจวายได้
   
    นอกจากจะมีศัพท์ที่เป็นภาษาไทยคำเดียว แต่มีภาษาอังกฤษหลายคำแล้ว ปัญหาอีกรูปแบบหนึ่งที่จะพบก็คือ คำที่เป็นภาษาไทยหลายคำแต่มีภาษาอังกฤษเพียงคำเดียว เช่นคำว่า appreciate (แอพพริชิเอท) ในภาษาไทยแปลว่า ชอบ,พอใจ,หลงใหล,ชอบพอ,ชื่นชอบ ก็จะเห็นได้ว่ามีปัญหาในบางกรณี โดยการแปลจากภาษาอังกฤษนั้นเราต้องอาศัยบริบทในภาษาเป็นเครื่องช่วย ดังตัวอย่างเช่น
    I’m very appreciated in this report. You’ve done the best job.
    ฉันพอใจในรายงานชิ้นนี้มาก คุณทำงานชิ้นนี้ได้ดีจริงๆ
    I appreciate for your do. You send a lovely flower for me.
    ฉันชื่นชอบในสิ่งที่คุณทำ ที่คุณส่งดอกไม้น่ารักให้ฉัน

    ในบางกรณีคำศัพท์บางคำเขียนเหมือนกัน แต่หากอ่านออกเสียงต่างกัน ความหมายก็จะต่างกัน หรือในบางทีออกเสียงเหมือนกัน แต่หากอยู่ในที่ต่างกัน ก็ความหมายต่างกัน โดยที่เราจะเรียกคำเหล่านี้ว่าเป็นคำพ้อง ในภาษาอังกฤษก็มีคำพ้องเหมือนในภาษาไทยเหมือนกันครับ

    คำพ้องรูป คือ คำที่อ่านออกเสียงเหมือนกัน หรือ ที่ในภาษาอังกฤษ เรียกว่า homonym นั้น ก็หมายถึงว่า คำที่เขียนเหมือนกันและออกเสียงเหมือนกัน แต่มีความหมายต่างกัน เช่น
1. Bear  แบ  หมี (คำนาม)
            แบ  ถือ (คำกริยา)

2. Stalk  สตอลค์  ลำต้น (คำนาม)
             สตอลค์  แอบตาม (คำกริยา)

Homophone หรือ คำพ้องเสียงเขียนเหมือนกัน คือ คำที่เขียนหรือสะกดต่างกัน มีความหมายที่ต่างกัน แต่ออกเสียงเหมือนกัน เช่น
1. Dear  เดีย  เรียน (คำขึ้นต้นจดหมาย)
    Deer  เดีย  กวาง

2. Role  โรล  บทบาท,หน้าที่
    Roll   โรล  ม้วน

    ส่วน Homegraph คือ คำที่สะกดเหมือนกัน แต่ออกเสียงต่างกันและความหมายก็ต่างกันด้วย เช่น
1. Present  พรีเซนท  การนำเสนอ
                 เพรสเซินท  ของขวัญ

2. Tear  เทีย  น้ำตา
             แท   ฉีก

    นอกจากคำที่เป็นคำโดดๆ แล้วนั้น ยังมีประเภทที่เป็นสำนวนอีกด้วย ซึ่งสำนวนเหล่านี้มักจะทำให้เราต้องแปลความหมายแบบตีความ และบางทีต้องแปลถึง 2 รอบ คือ แปลจากสำนวนภาษาอังกฤษเป็นไทยแล้ว ก็ยังต้องแปลจากไทยเป็นไทยอีกรอบด้วย ดังตัวอย่างต่อไปนี้

Black or white :
I don’t know what my boss decision is. It is just black or white.
ฉันไม่รู้น่ะว่าเจ้านายของฉันจะตัดสินใจแบบไหน มันดูคลุมเครือเหลือเกิน

Have a good head on a shoulder :
He is very brilliant to manage this work. He really has a good head on his shoulder.
เขาช่างยอดเยี่ยมที่จัดการงานชิ้นนั้นได้ เขาช่างมีดีจริงๆ

What go around come around :
He used to cheat on me. Now he was cheated from his new girlfriend so what go around come around.
เขาเคยนอกใจฉันมาก่อน ตอนนี้ เขาเลยถูกนอกใจโดยแฟนใหม่ของเขา ช่างเป็นเรื่องกงกรรมกงเกวียนจริงๆ

    เมื่อเราทราบทั้งคำศัพท์ และสำนวนแล้ว มาถึงสิ่งหนึ่งที่ยากอีกสิ่งหนึ่งเลย นั่นคือ เรื่องของคำศัพท์เฉพาะทาง เพราะคำเหล่านี้ เพราะคำเหล่านี้จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ ศัพท์ที่มีการบัญญติ และศัพท์เฉพาะ

พวกศัพท์บัญญัติ อย่างเช่น
Inflation  แปลว่า  เงินเฟ้อ
Quantity  แปลว่า  ปริมาตร
Stallion    แปลว่า  ม้าพ่อพันธุ์

พวกศัพท์เฉพาะ อย่างเช่น
Vichianmat   แปลว่า  (แมว) วิเชียรมาศ
Bangkok       แปลว่า  กรุงเทพมหานคร
Britain          แปลว่า   ประเทศอังกฤษ

    โดยคำเหล่านี้ต้องอาศัยความรู้พื้นฐานของผู้แปลเป็นอันมาก นอกจากจะต้องมีความรู้ในภาษาอังกฤษแล้ว ก็ต้องมีความรู้เกี่ยวกับภาษาไทย และความรู้รอบตัวอีกด้วย ประกอบกันไป

2. ไม่เข้าใจความหมายของรูปประโยค ไวยากรณ์ของภาษาอังกฤษ
    ในบางกรณีภาษาอังกฤษ ก็จะมีการสื่อความหมายที่แตกต่างกันออกไป เมื่อใช้ประโยคที่ต่างกัน ในบางกรณีการพูดเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยผ่านรูปประโยคหนึ่งจะให้ความหมายอย่างหนึ่ง แต่เมื่อเปลี่ยนรูปประโยคลักษณะการเน้นของประโยคก็จะเปลี่ยนไปเช่นกัน ดังตัวอย่างต่อไปนี้

– รูป Future Tense (อนาคตกาล)
  I’m going to buy I-Pod for his present.
  ฉันตั้งใจจะซื้อไอพ็อดเป็นของขวัญให้เขา

– รูป Conditional Sentence (ประโยคเงื่อนไข)
  If I were you, I left him at that time.
  ถ้าฉันเป็นเธอ ฉันทิ้งเขาไปตั้งแต่ตอนนั้นแล้วล่ะ

– รูป Passive Voice
   He was hit by car in front of university at this morning
   เขาถูกรถชนเมื่อเช้านี้ที่หน้ามหาวิทยาลัย

– รูป Question Tags (ประโยคคำถามที่ต่อท้ายประโยค)
  She is very interested in classical music, isn’t she?
  เธอสนใจในดนตรีคลาสสิกมากๆ ใช่ไหม?

3. ไม่เข้าใจน้ำเสียง และความหมายของงานเขียน
     ในบางกรณีผู้เขียนอาจเขียนอย่างหนึ่ง แต่หมายความไปในทางตรงกันข้าม เช่น พูดดีหมายร้าย (ประชด), พูดร้ายหมายดี ก็มีเช่นกัน ทำให้เวลาเราแปล ถ้าเป็นงานเขียนจำพวกนิยาย, บทความ หรือเรื่องสั้น ก็ต้องระวังในสิ่งเหล่านี้ไม่ให้หายไป เพราะบางทีหากทำเป็นลืมในน้ำเสียงเหล่านี้ ก็จะทำให้เนื้อหาของเรื่องที่แปลอยู่นั้นหมดความน่าเชื่อถือทันที หรือบางทีกลับทำให้การแปลนั้นผิดไปเลยทีเดียว