ถาม Compound Word คืออะไร แบ่งออกเป็นกี่ชนิดอะไรบ้าง
Compound Word แปลว่า “คำประสม” ได้แก่ “คำนามที่ไปรวมกับคำอื่น เช่น รวมกับนามด้วยกันเองบ้าง, รวมกับคุณศัพท์บ้าง, รวมกับคำวิเศษณ์บ้าง เป็นต้น แล้วทำให้คี่รวมกันนั้นเกิดเป็นคำประสมขึ้นมา” เรียกคำนั้นว่า Compound Word และหลักเกณฑ์ในการนำเอาคำต่างๆดังกล่าวมาแล้วไปประสมกันนั้นจะถือว่า คำข้างหน้าเป็นคำทำหน้าที่ขยาย ส่วนคำข้างหลังเป็นคำหลัก คำยืนซึ่งจะมีความหมายสำคัญกว่า เช่น bookseller (คนขายหนังสือ) seller = ผู้ขาย มีความหมายสำคัญ เพราะเป็นคำยืน ส่วน book = หนังสือเป็นคำขยายทำหน้าที่อย่างคุณศัพท์ แม้นัยอื่นก็ให้เทียบตามตัวอย่างที่ว่ามานี้
Compound Word แบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ ตามลักษณะของคำคือ
1. Compound Noun = คำที่ประสมกันแล้วทำหน้าที่เป็นนาม
2. Compound Adjective = คำที่ประสมกันแล้วทำหน้าที่อย่างคุณศัพท์
1. Compound Noun ได้แก่ “คำที่นำไปประสมกันหรือรวมกันแล้วจะทำหน้าที่เป็นนามหรือใช้อย่างนาม” ซึ่งอาจเกิดมาจากการประสมกันได้ดังต่อไปนี้ คือ
(1) Noun + Noun (นามประสมกับนาม) แบ่งออกไปได้อีก 5 ชนิดย่อยๆ คือ
1.1 นามตัวแรกจะบอกให้รู้ว่านามตัวหลังทำจากอะไร เช่น
a glass bottle = แก้วน้ำ (a bottle made of glass)
a leather hat = หมวกหนัง (a hat made of leather)
a diamond ring = แหวนเพชร (a ring made of diamonds)
an iron gate = ประตูเหล็ก (a gate made of iron)
1.2 นามตัวแรกบอกสิ่งที่ขาย นามตัวหลังบอกอาชีพ เช่น
a bookseller = คนขายหนังสือ (a seller of books)
an encyclopedia salesman = คนขายหนังสือสารานุกรม (a salesman of encyclopedia)
a dressmaker = ช่างตัดเสื้อ (a maker of dresses)
a rice merchant = พ่อค้าข้าว (a merchant of rice)
1.3 นามตัวแรกเป็นของบรรจุไว้ นามตัวหลังเป็นภาชนะสำหรับใส่ เช่น
a flower vase = แจกันดอกไม้ (a vase for flowers)
a wine bottle = ขวดเหล้าไวน์ (a bottle for wine)
a petrol barrel = ถังน้ำมันรถ (a barrel for petrol)
a fruit basket = ตะกร้าผลไม้ (a basket for fruit)
1.4 นามตัวหลังมีความสัมพันธ์กับนามตัวแรก เช่น
a reference book = หนังสืออ้างอิง (a book of reference)
a record-player = เครื่องบันทึกเสียง (a player of records)
a mathematics teacher = ครูสอนคณิตศาสตร์ (a teacher of mathematics)
a light switch = ที่เปิด-ปิดไฟ (a switch of light)
1.5 นามตัวหน้าบอกให้ทราบสถานที่ของนามตัวหลัง เช่น
a park pool = สระน้ำประจำสวนสาธารณะ (a pool in a park)
a country man = คนบ้านนอก, คนชนบท (a man in the country)
a shop assistant = ผู้ช่วยเจ้าของร้าน (an assistant in a shop)
a garden furniture = เครื่องประดับสวน (furniture in a garden)
2. Present Participle or Gerund + Noun (กริยาเติม ing ประสมกับนาม) เช่น
a dancing-teacher = ครูสอนเต้นรำ (a teacher who is dancing)
the following-year = ปีต่อไป (a year which follows)
a racing-horse = ม้าแข่ง (a horse that (which) races)
a sewing-machine = จักรเย็บผ้า (a machine that sews)
a swimming-pool = สระว่ายน้ำ (a pool for swimming)
3. Noun+Verb เติม er, หรือ or เป็นคำนามประสมได้ เช่น
a shopkeeper = เจ้าของร้าน (a person who keeps a shop)
a hairdresser = ช่างทำผม (a person who dresses hair)
a bus driver = คนขับรถเมล์ (a person who drives a bus)
a hair dryer = เครื่องเป่าผม (a thing that dries hair)
4. Verb เติม er + บุรพบท เป็นคำนามประสมได้ เช่น
a passer-by = คนที่สัญจรไปมา
a looker-on = คนดู
5. Noun + บุรพบท + noun เป็นคำนามประสมได้ เช่น
a man-of-war = เรือรบ
a sister-in-law = ลูกสะใภ้ เป็นต้น
Compound Adjective ได้แก่ “คำที่ประสมกันแล้วทำหน้าที่อย่างคุณศัพท์หรือเป็นคุณศัพท์เพื่อไปขยายนามหรือสรรพนาม” วิธีประสมกันเมื่อเป็น Compound Adjective มีดังต่อไปนี้
1. Adjective + noun เติม ed แล้วใช้เป็นคุณศัพท์ประสมได้ เช่น
a middle-aged man = ชายวัยกลางคน
a red-nosed boy = เด็กจมูกแดง
a bad-tempered woman = ผู้หญิงเจ้าอารมณ์
an old-fashioned idea = ความคิดล้าสมัย
2. Noun + Adjective แล้วใช้เป็นคุณศัพท์ประสมไปขยายได้ เช่น
the stone-cold floor = พื้นเย็นเหมือนกับหิน
nut-brown eyes = นัยน์ตาสีน้ำตาลเข้ม
a blood-red dress = ชุดแต่งตัวสีแดงเหมือนเลือด
3. Adjective + Adjective แล้วใช้เป็นคุณศัพท์ประสมได้ เช่น
a tall-dark man = ชายร่างสูงผิวคล้ำ
bitter-sweet cake = เค้กมีรสขมๆ หวานๆ
brown-grey beard = เคราสีน้ำตาลปนเทา
4. Noun + Noun เพื่อไปขยายด้วยกันนั้น ถือเป็นคุณศัพท์ประสมได้ เช่น
a sound-proof room = ห้องเก็บเสียง
water-proof cloth = ผ้ากันน้ำ (เช่น ผ้ายาง, ผ้าร่ม)
Water-proof glass = กระจกกันน้ำได้
5. Adjective + Noun ที่ไปขยายนามถือเป็นคุณศัพท์ประสมได้ เช่น
a heavy-weight boxer = นักมวยรุ่นเฮฟวี่เวท
upper-class people = ชนชั้นสูง
6. Noun (หรือ adjective, adverb) + Past Participle ถือเป็นคุณศัพท์ประสมได้ เช่น
the snow-covered mountain = ภูเขาที่ปกคลุมด้วยหิมะ
a well-trained horse = ม้าที่ฝึกดีแล้ว
a ready-made shirt = เสื้อที่ตัดเรียบร้อยแล้ว
a badly-written letter = จดหมายที่เขียนไม่ดี
7. Noun (หรือ adjective, adverb) + Present Participle ถือเป็นคุณศัพท์ประสมได้ เช่น
Grass-cutting machinery = เครื่องมือตัดหญ้า
a quickly-growing baby = เด็กที่เจริญเติบโตเร็ว
a high-flying aeroplane = เครื่องบินที่บินสูงได้
nigh-blooming flowers = ดอกไม้ที่บานในยามราตรี
8. Given phrases (วลีที่ให้มา) + Noun ถือเป็นคุณศัพท์ประสมได้ เช่น
a broken-hearted man = ชายที่อกหัก
a worth-while experiment = การทดลองที่มีค่า
a six-year-old boy = เด็กชายที่มีอายุ 7 ปี
an up-to-date radio = วิทยุที่ทันสมัย
the midnight-urgent news = ข่าวด่วนเที่ยงคืน
9. คุณศัพท์ประสมอาจเป็นรูปอื่นๆ (other different forms) ก็ได้ เช่น
a three-hour work = การทำงาน 3 ชั่วโมง
(or) = three hours’ work = การทำงาน 3 ชั่วโมง
a twenty-minute conversation = การสนทนากินเวลา 20 นาที
(or) = a twenty minutes’ conversation = การสนทนากินเวลา 20 นาที