เรียนภาษาอังกฤษ ตอน สรุปหลักเกณฑ์การใช้เครื่องหมายวรรคตอนกับ Conjunction (สันธาน) และ Conjunctive Adverb (กริยาวิเศษณ์สันธาน)
conjunctive adverb มีอะไรบ้าง
ใครว่าเครื่องหมายวรรคตอนไม่สำคัญ เห็นอย่างนี้ ถ้าเราเว้นวรรคผิด ความหมายอาจคลุมเคลือไม่ชัดเจนได้ จะเรียนอะไรต้องเรียนให้รู้จริง ให้รู้ทุกสิ่งอย่างในสิ่งที่เรียน ภาษาอังกฤษก็เช่นกันครับ ถ้าจะ เรียนภาษาอังกฤษ ให้ดี เราก็ต้องรู้ถึงกฎของมันให้หมดครับ…ใช่ครับ เราไม่สามารถเรียนรู้กฎเกณฑ์ต่างๆในเวลาไม่กี่วันได้ครบหรอกครับ มันต้องใช้เวลายาวนานเหมือนกัน แต่ถ้าเรา เรียนภาษาอังกฤษ ด้วยตัวเราเองทุกวัน อ่านทุกวัน รับรอง ไม่นาน เราจะจดจำมันได้เองครับ…จำไว้ครับว่า เราจะต้อง เรียนภาษาอังกฤษ อย่างตั้งใจ ค่อยเป็นค่อยไปแต่สม่ำเสมอ แล้วชัยชนะจะเป็นของเรา….ขอยกตัวอย่างคนที่ เรียนภาษาอังกฤษ ไม่เก่งน่ะครับ อ่านยังอ่านไม่ออกเลย คำศัพท์ก็รู้แค่ไม่กี่คำ แต่เขาไม่เคยพยายามที่จะเก่งกว่าเดิม คือ ไม่เคยท่องศัพท์ ไม่เคยอ่านกฎเกณฑ์อะไรของมันเลย ไม่เคยแสวงหาความรู้เพิ่ม เขาจะไม่มีวันเก่งได้แน่นอน…ความขยันและมุ่งมั่นเท่านั้นจะนำเราไปสู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ เมื่อเราเก่งแล้ว มันจะหายเหนื่อยเอง ทีนี้ละเดินเชิดหน้าชูตาได้อย่างไม่อายใครแน่นอน…ฝากไว้แค่นี้แหละครับ เอาละไปเรียนภาษาอังกฤษเรื่องการใช้เครื่องหมายวรรคตอนกันเถอะ…..

การใช้เครื่องหมายวรรคตอน (Punctuation) กับสันธานหรือกริยาวิเศษณ์สันธานที่นำไปเชื่อมประโยคนั้น มีหลักเกณฑ์ดังนี้

1)ถ้าคำที่เอาไปเชื่อมนั้นเป็น Co-ordinate Conjunction (สมสันธานโดยตรง) อันได้แก่ and, or, but และ so หน้าคำเหล่านี้ต้องใส่เครื่องหมาย Comma (,) เช่น

John is a very lazy student, and he always, comes late to class.

จอห์นเป็นนักศึกษาที่เกียจคร้านมากและก็มักมาโรงเรียนสายเสมอ

Keep off my property, or I’ll have you arrested.

ห้ามแตะต้องทรัพย์สินของฉัน มิฉะนั้นแล้วจะให้ตำรวจจับกุม

His wife is very beautiful, but she can’t cook at all.

ภรรยาของเขาสวยมาก แต่หล่อนก็ไม่สามารถทำกับข้าวได้หมดทุกอย่าง

There is very little rain here, so we often have crop failures.

ที่นี่มีฝนตกน้อยมาก ดังนั้นเราจึงประสบความล้มเหลวทางการเพาะปลูกเสมอ

ขอยกเว้น : A) ถ้าคำเชื่อมนั้นเป็น Correlative Conjunctions (คือสันธานที่ใช้เป็นคู่) อันได้แก่ neither…….no, either…….or, both…….and, whether…….or, not only……..but also, ไม่ต้องใส่ Comma ทั้งหน้าและหลังสันธานคู่เหล่านี้ เช่น

He is neither a coward nor a fool.

เขาไม่ใช่คนขี้ขลาดและคนโง่

She is not only beautiful but also clever.

หล่อนไม่เพียงสวยอย่างเดียว แถมยังฉลาดอีกด้วย

B) ไม่ต้องใส่เครื่องหมาย Comma ถ้าประโยคที่นำมาเชื่อมนั้น เป็นข้อความสั้นๆ เช่น

He went in and I went out. เขาเข้ามา ส่วนผมออกไป

C) ไม่ต้องใส่เครื่องหมาย Comma ถ้าเป็นคำที่ต้องใช้รวมกันหรือควบกัน (No comma if words are joined.) เช่น

He is poor but honest. เขาจนแต่ก็ซื่อสัตย์

2)ถ้าคำที่เอาไปเชื่อมนั้นเป็น Conjunctive Adverb (คือกริยาวิเศษณ์สันธาน) ได้แก่ besides, in addition, moreover, what’s more, otherwise, therefore, however, furthermore, nevertheless, on the other hand, for all that, accordingly, และ consequently คำเหล่านี้เมื่อนำมาใช้เชื่อมประโยคถือเป็นครึ่งสันธานครึ่งกริยาวิเศษณ์ ต้องใส่ Semicolon (;) ข้างหน้า comma (,) ข้างหลังตลอดไป เช่น

Jack is a very lazy student, moreover, he always comes late to class.

แจ็คเป็นนักศึกษาที่เกียจคร้านมาก นอกจานี้แล้วยังมาเรียนหนังสือสายเสมอๆ

Keep off a fierce dog; otherwise, it will bite you.

ออกห่างๆ สุนัขที่ดุร้าย มิฉะนั้นแล้วมันจะกัดคุณ

Sunlight is good for health; on the other hand, too much sunlight may cause illness.

แสงดวงอาทิตย์มีประโยชน์ต่อสุขภาพ แม้กระนั้นหากแสงดวงอาทิตย์มากเกินไปก็อาจทำให้ไม่สบายได้

ข้อยกเว้น : Conjunctive Adverb ต่อไปนี้คือ yet, still, however, nevertheless จะนำไปวางไว้สุดประโยคก็ได้ แต่ประโยคทั้งสองที่วางไว้หน้าคำเหล่านี้ ต้องแยกประโยคด้วย semicolon(;) จบประโยคหลังใส่ comma(,) เช่น

He never worked hard; he gained all prized, however.

เขาไม่เคยทำงานหนัก แต่เขาก็ได้รับรางวัลทุกอย่าง

I was annoyed; I kept quiet, nevertheless.

I was annoyed; I kept quiet, still.

I was annoyed; I kept quiet, yet.

I was annoyed; I kept quiet, however.

ผมถูกรบกวน แต่ยังอดทนได้

2.2 Subordinate Conjunctions (อนุสันธาน) ได้แก่ “สันธานที่เชื่อมลงไปแล้วทำให้ประโยคนั้นเป็น Complex Sentence* (ประโยคที่มีเนื้อความซ้อนหรือสังกรประโยคทันที) ข้อที่ Subordinate conjunctions (อนุสันธาน) แตกต่างจาก Co-ordinate Conjunctions (สมสันธาน) ก็คือ “Subordinate Conjunctions ไม่จำเป็นที่จะต้องอยู่กลางประโยคเสมอเหมือน Co-ordinate Conjunction แต่อาจวางไว้ข้างหน้าประโยคก็ได้ เช่น

if you want me, I will come. ถ้าคุณต้องการผม ผมก็จะมา

(= I will come if you want me.)

Subordinate Conjunctions ที่ใช้มากมีดังต่อไปนี้

That
When
Where
Why
How
While
Before
Until (till)
If
After
Since
Because
Unless
As
Which
Although (though)
Lest
As soon as
As…..as
Whether etc.

คำที่กล่าวมานี้ เมื่อนำไปใช้เชื่อมประโยค เพื่อให้เป็น Complex Sentence แบ่งออกได้เป็น 9 ชนิดย่อยๆ ตามลักษณะการใช้คือ

1. เชื่อมความเพื่อแสดงเวลา (Time) เช่น

Wait for me till I come.

รอฉันจนกว่าจะกลับมาก็แล้วกัน

I returned home after he had gone.

ผมกลับบ้านหลังจากที่เขาได้ไปแล้ว

(till และ after เป็น Subordinate Conjunction เชื่อมความบอกเวลา)

2. เชื่อมความแสดงเหตุผล (Reason) เช่น
he will succeed, because he has worked hard.
เขาจะประสบผลสำเร็จ เพราะเขาได้ทำงานอย่างหนัก
As he was not there, I spoke to his brother.
เพราะเขาไม่ได้อยู่ที่นั่น ผมจึงพูดกับน้องชายเขา
(Because และ as เป็น Subordinate Conjunction เชื่อมความบอกเหตุผล)

3. เชื่อมความแสดงความมุ่งหมาย (Purpose) เช่น
We eat that we may live.
เรากินเผื่อว่าจะมีชีวิตอยู่
He held her hand lest she should fall.

เขาจับมือหล่อนไว้เผื่อว่าหล่อนจะไม่ได้ล้ม (lest เผื่อว่า….จะไม่)
(that และ lest เป็น Subordinate Conjunction เชื่อมเพื่อบอกความมุ่งหมาย)

4. เชื่อมความแสดงผลตามหลัง (Result) เช่น
Susan is so fat that she cannot walk fast.
ซูซานอ้วนเสียจนกระทั่งหล่อนไม่สามารถเดินเร็วได้
He is tried that he could scarcely stand.
เขาเหนื่อยมากจนแทบจะยืนไม่ติด
(that เป็น Subordinate Conjunction เชื่อมความแสดงผลตามหลังและให้สังเกตไว้ด้วยว่า that ต้องใช้ ตามหลัง so เสมอตามนัยนี้)

5. เชื่อมความเพื่อแสดงการคาดคะเน เงื่อนไข หรือสมมติ (Condition) เช่น
I will do this if I am allowed.
ผมจะทำสิ่งนี้ ถ้าผมได้รับอนุญาต
He will not do that unless you allow him.
เขาจะไม่ทำสิ่งนั้น นอกจากคุณจะอนุญาตเขาแล้วเท่านั้น
(if และ unless เป็น Subordinate Conjunction เชื่อมความเพื่อการคาดคะเน หรือเงือนไข)

6. เชื่อมความยอมรับหรือแตกต่างกัน (Concession) เช่น
Kitti is an honest man, though he is poor.
กิตติเป็นคนซื่อสัตย์ แม้ว่าจะจนก็ตาม
He will never succeed, although much he may try.
เขาจะไม่ประสบความสำเร็จ ถึงแม้เขาจะพยายามมากแล้วก็ตาม
(though และ although เป็น Subordinate Conjunction เชื่อมความยอมรับหรือข้อแตกต่างของสองประโยค)

7. เชื่อมความแสดงการเปรียบเทียบ (Comparison) เช่น
He likes you as much as I (like you.)
เขาชอบคุณมากเท่ากันกับผม (ชอบคุณ)

She is more diligent than I (am.)
หล่อนมีความขยันมากกว่าผม
(as……..as และ than เป็น Subordinate Conjunction เชื่อมประโยค เพื่อแสดงการเปรียบเทียบ) หรือ เช่น
She loves you more than (She loves) me.
หล่อนรักคุณมากกว่า (หล่อนรัก) ผม

8. เชื่อมความแสดงขนาดหรืออาการ (Extend หรือ Manner) เช่น
Do in Rome as the Domans do.
เข้าเมืองตาหลิ่วให้หลิ่วตาตาม (เขาทำอย่างไรทำตามเขา)
Men will reap as they sow.
คนเราจะเก็บเกี่ยวได้เท่าที่หว่านไป
This is not true, so far as I can find out.
นี้ไม่ใช่เรื่องจริง เท่าที่ผมได้สืบรู้มา
(as และ so far as เป็น Subordinate Conjunction เชื่อมประโยคเพื่อแสดงขนาดหรืออาการ)

9. เชื่อมความซ้อนใจความที่อยู่ข้างหน้า (Apposition) เช่น
It is true that he becomes rich.
เป็นความจริงที่ว่าเขาร่ำรวย
He made a promise that he would return soon.
เขาให้สัญญาว่า เขาจะกลับมาเร็วๆนี้
(that ใน 2 ประโยคข้างบนนี้เป็น Subordinate Conjunction มาเชื่อมบางประโยคทั้ง 2 เพื่อซ้อนใจความที่อยู่ข้างหน้า)