(ตอนจบ)
3) Or-type รวมทั้งคำที่มีลักษณะคล้าย or สันธานหรือ Conjunction ในหมวดนี้มีไว้สำหรับใช้เชื่อมข้อความเพื่อให้เลือกเอา (Alternative หรือ Disjunction) ได้แก่
Or หรือ
Or else หรือมิฉะนั้น
otherwise มิฉะนั้น
either……or ไม่….ก็….(เลือกอย่างหนึ่งใน 2 อย่าง)
neither……nor ไม่ทั้ง…..และ……(ไม่ทั้งสองอย่าง)
or : (หรือ) มีวิธีใช้เชื่อมดังนี้
1) ถ้า or ไปเชื่อมข้อความที่เป็นคำ หน้า or และหลัง or ไม่ต้องใส่เครื่องหมาย Comma เช่น
Is she asleep or awake?
หล่อนหลับหรือตื่นอยู่
You must come on Monday or Tuesday.
คุณจะต้องมาวันจันทร์หรือวันอังคาร
is it a boy or a girl?
มันเป็นเด็กชายหรือเด็กหญิง?
2) ถ้า or ไปเชื่อมข้อความที่เป็นประโยค นิยมใส่เครื่องหมาย comma (,) หน้า or เสมอ เช่น :
You must go now, or you’ll miss the train.
คุณจะต้องไปเดี๋ยวนี้ มิฉะนั้นคุณจะไม่ทันรถไฟ
He must study hard, or he’ll fail in exam.
เขาจะต้องเรียนอย่างขะมักเขม้น มิฉะนั้นจะสอบไล่ตก
or else และ otherwise : (มิฉะนั้น, หรือมิฉะนั้น) คำสันธาน 2 ตัวนี้ นิยมใช้เชื่อมข้อความที่เป็นประโยคเสมอ ไม่นิยมใช้เชื่อมคำๆ เดียว และหน้า or else, otherwise ต้องใส่ comma เช่น
They must leave at once, or else they will miss the train.
พวกเขาจะต้องออกเดินทางกันเดี๋ยวนี้ มิฉะนั้นจะไปไม่ทันรถไฟ
You had better come yourself, otherwise you will send your friend.
คุณควรมาด้วยตัวเอง หรือมิฉะนั้นคุณจะส่งเพื่อนของคุณมาก็ได้
either…..or และ neither…..nor ถ้าเชื่อมส่วนที่เป็นประธานของกริยา จะใช้กริยาเป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์นั้น ให้ถือเอาตาม “ประธานตัวหลัง or หรือ nor” เช่น
Either you or she has to go now.
ไม่คุณก็หล่อนต้องไปเดี๋ยวนี้
Neither he nor I am invited to the party.
ทั้งเขาและผมไม่ได้รับเชิญไปงานเลี้ยง
3) So-type รวมทั้งคำที่มีลักษณะคล้าย so สันธานในหมวดนี้มีไว้สำหรับเชื่อมความที่เป็น เหตุผลซึ่งกันและกัน (Illative หรือ Result) ได้แก่คำต่อไปนี้
So ดังนั้น
for เพราะ, เหตุฉะนั้น
therefore ดังนั้น
consequently ดังนั้น
accordingly ดังนั้น
แต่ละตัวมีวิธีใช้เชื่อมประโยคได้ดังนี้
So : (ดังนั้น) ความหมายของประโยคที่เชื่อมเข้าด้วยกัน ไม่จำเป็นต้องหนักแน่นดีนัก เช่น
The door was open so I went in.
ประตูเปิดไว้ ดังนั้นผมจึงเข้าไปข้างใน
(การที่ประตูเปิดอยู่ไม่ใช่เหตุสำคัญที่เราจะต้องเข้าไปข้างในเสมอไป ดังนั้นเหตุและผลที่เกี่ยวพันกันจึงไม่หนักแน่น)
for ดังนั้น : คำนี้มีลักษณะการใช้หรือความหมายเช่นเดียวกันกับ so ใช้เชื่อมความที่เป็นเหตุผลของกันและกันไม่หนักแน่นดี เช่น
he went in, for the door was open.
เขาเข้าไปข้างใน เพราะประตูเปิดไว้
(ประตูเปิดไว้มิได้หมายความว่าใครๆ ก็เข้าไปได้หมด)
Therefore ดังนั้น : คำนี้ใช้เชื่อมประโยคที่เป็นเหตุผล ซึ่งหนักแน่นกว่า so มากและเห็นได้ชัดทีเดียว เช่น
Jack was sick; therefore, he didn’t come to school.
แจ็คป่วยดังนั้นเขาจึงมิได้มาโรงเรียน
He broke the rules of the school; therefore, he deserved to be punished.
เขาทำผิดกฎของโรงเรียน ดังนั้นเขาจึงสมควรที่จะถูกลงโทษ
(การป่วย และการทำผิดกฎของโรงเรียนเป็นเหตุที่เห็นกันได้ชัด ดังนั้น ผลที่เกิดขึ้นตามหลังก็คือ ไม่ได้ไปโรงเรียน และการทำผิดกฎก็ได้รับโทษ สิ่งเหล่านี้เป็นเหตุผลหนักแน่นหลีกไม่ได้)
Consequently และ Accordingly ดังนั้น : คำทั้งสองนี้มีความหมายเดียวกับ therefore แต่เป็นคำกริยาวิเศษณ์สันธาน (Conjunctive Adverb) ไปเชื่อมข้อความของประโยคใด ประโยคนั้นต้องมีเหตุผลหนักแน่นพอสมควร เช่น
Thailand lies very near to the equator; consequently, the weather is very hot all the year round.
ประเทศไทยอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรมาก ดังนั้นอากาศจึงร้อนตลอดปี
Our business has become worse during the last three years: accordingly, we cannot pay the debt.
ธุรกิจของเราแย่ลงตลอดสามปีที่ผ่านมา ด้วยเหตุฉะนี้เราจึงไม่สามารถชำระหนี้ได้