Future Perfect Tense มีวิธีใช้ดังนี้
โครงสร้างประโยค คือ ประธาน + will, shall + have + กริยาช่องที่ 3
เช่น :
I shall have gone.
You will have gone.
He will have gone.
They will have gone.
Jo will have gone.
ถาม : Future Perfect Tense ใช้เมื่อใด?
ตอบ : Future Perfect Tense มีวิธีใช้ดังนี้
1)ใช้กับเหตุการณ์ 2 อย่างที่จะเกิดขึ้นไม่พร้อมกันในอนาคต ซึ่งขณะที่พูดเป็นเพียงคาดการณ์ไว้ล่วงหน้า ถ้าถึงตอนนั้นแล้ว เหตุการณ์อันหนึ่งจะได้เกิดขึ้นสมบูรณ์อยู่ก่อนแล้วจึงมีเหตุการณ์อันที่ 2 เกิดขึ้นตามมา โดยมีหลักการแต่งประโยคดังนี้
ท่องจำ :
– เหตุการณ์ใดเกิดก่อนใช้ Future Perfect Tense
(Subject + will, shall + have + Verb 3)
– เหตุการณ์ใดเกิดทีหลังใช้ Present Simple Tense
(Subject + Verb 1)
โจทย์ : The play (start) before we (reach) the theatre.
เฉลย : The play will have started before we reach the theatre.
ละครคงจะเริ่มแสดงแล้ว ก่อนที่เราจะไปถึงโรงละคร
(การแสดงละครได้เริ่มแสดงมาแล้ว ก่อนการไปถึงของเรา เพราะฉะนั้นการแสดงเกิดก่อนใช้ Future Perfect Tense ส่วนการไปถึงโรงละครเกิดทีหลังใช้ Present Simple Tense)
โจทย์ : He (leave) home when the mail (arrive) tomorrow.
เฉลย : He will have left home when the mail arrives tomorrow.
เขาคงจะได้ออกจากบ้านไปแล้ว เมื่อไปรษณีย์มาถึงพรุ่งนี้
(ออกจากบ้านเกิดขึ้นก่อน แล้วไปรษณีย์จึงเกิดขึ้นตามหลัง ดังนั้นออกจากบ้านใช้ Future Perfect Tense ไปรษณีย์มาถึงเกิดตามหลังหรือทำทีหลังใช้ Present Simple Tense)
โปรดทราบ : Future Perfect Tense ใช้คู่กับ Present Simple Tense เสมอ อย่าได้หลงใช้ Future Perfect Tense คู่กับ Future Simple Tense เป็นอันขาด
เช่น
ผิด : When you will arrive at the station, the train will have left already.
ถูก : When you arrive at the station, the train will have left already.
เมื่อคุณมาถึงสถานี รถไฟคงจะได้ออกไปแล้ว
2)ใช้กับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ณ เวลาใดเวลาหนึ่งตามที่ระบุไว้อย่างชัดเจนในประโยค และพึงสังเกตไว้ว่า คำหรือกลุ่มที่บอกเวลาเป็นอนาคต นำมาร่วมกำกับไว้นั้น จะนำหน้าด้วยบุรพบท “by” เสมอ เช่น by tomorrow, by next week, by the end of March, by dinner time, by next summer, etc.
เช่น
I shall have finished my work by dinner time.
ก่อนจะถึงเวลาอาหารเย็น ฉันจะได้ทำงานของฉันเสร็จแล้ว
(ขณะพูดงานยังไม่เสร็จ แต่เมื่อถึงก่อนเวลาอาหารเย็นงานจะเสร็จ)
By the end of March the Browns will have been here for two years.
ก่อนจะสิ้นเดือนมีนาคม ครอบครัวบราวน์จะได้อยู่ที่นี่ครบ 2 ปี
We shall have moved in a new house by the end of the year.
เมื่อสิ้นปีนี้พวกเราจะได้ย้ายเข้าไปอยู่บ้านใหม่แล้ว
(ขณะพูดยังไม่ได้ย้าย สิ้นปีย้าย)
3)ใช้เพื่อแสดงความสงสัยว่า “คงจะอย่างนั้น อย่างนี้แล้วก็ได้” เช่น
I expect you will have heard that Ladda is going to be married next month.
ผมคาดว่าคุณคงจะได้ทราบข่าวมาแล้วว่า ลัดดาจะต่างานเดือนหน้า
(เป็นการพูดคาดคะเนด้วยความสงสัยว่า คงจะอย่างนั้นอย่างนี้แล้ว)
It’s five o’clock; they will have arrived home by now.
5 โมงเย็นแล้ว ขณะนี้พวกเขาคงมาถึงบ้านแล้วน่ะ
(ไป๊ ! เราไปดูกันเถอะ)