เรียนภาษาอังกฤษ เรื่อง Present Simple Tense
Present Simple Tense มีวิธีใช้ดังนี้
รูปแบบของ Present Simple Tense คือ Subject+กริยาช่องที่ 1
(เติม s เมื่อประธานเป็นเอกพจน์ ยกเว้น, I, You)
เช่น
He gets up early.
I get up early.
The boys get up early.
ถาม : การเติม s ที่กริยาเมื่อประธานเป็นเอกพจน์มีหลักเกณฑ์อย่างไร
ตอบ : มีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) กริยาที่ลงท้ายด้วย s, ss, sh, ch, o, และ x ให้เติม e เสียก่อนแล้วจึงเติม s เช่น
Pass
|
Passes
|
ผ่าน
|
Brush
|
Brushes
|
แปรงฟัน
|
Catch
|
Catches
|
จับ
|
Go
|
Goes
|
ไป
|
Box
|
Boxes
|
ชก
|
Cry
|
Cries
|
ร้องไห้
|
Carry
|
Carries
|
ถือ, หิ้ว
|
Fly
|
Flies
|
บิน
|
Try
|
Tries
|
พยายาม
|
Play
|
Plays
|
เล่น
|
Destroy
|
Destroys
|
ทำลาย, สังหาร
|
ถาม : เราใช้ Present Simple Tense เมื่อใด
ตอบ : ใช้ Present Simple Tense เมื่อกล่าวถึง
1) ใช้กับเหตุการณ์หรือการกระทำที่เป็นความจริงตลอดไป หรือเป็นความจริงความธรรม (general truth หรือ eternal truth) เช่น
The sun rises in the east.
ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก
The earth rotates on its axis.
โลกหมุนอยู่บนแกนของตัวเอง
It’s cold in winter.
มันหนาวในฤดูหนาว
Fish swim in the water.
ปลาว่ายอยู่ในน้ำ
Fire is hot. Ice is cold.
ไฟร้อน น้ำแข็งเย็น
(ตัวอย่างที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นความจริงตามธรรมชิตหรือตลอดไป
2) ใช้กับเหตุการณ์ที่เป็นประเพณี, นิสัย, สุภาษิต ซึ่งไม่ได้บ่งเฉพาะเจาะจงว่าเวลาใด เช่น
Actions speak louder than words.
ทำดีกว่าพูด
Men wear thin clothes in summer.
คนเราสวมเสื้อผ้าบางๆ ในฤดูร้อน
That man speaks English as well as he speaks his own language.
เจ้าคนนั้นพูดภาษาอังกฤษราวกับภาษาของตน
Woman are dressed all in black when going to the funeral.
ผู้หญิงแต่งตัวด้วยชุดสีดำล้วนเมือไปงานศพ
(เหตุการณ์หรือการกระทำดังกล่าวนี้เป็นประเพณี, นิสัย, สุภาษิต กริยาต้องใช้ Present Simple ตลอดไป)
3) ใช้กับเหตุการณ์ที่เป็นจริงในขณะพูด (ก่อนหน้าพูดหรือหลังจากพูดไปแล้วจะเป็นตามนั้นหรือไม่ก็ได้ ไม่มีผลผูกพัน แต่ที่แน่ๆ ก็คือต้องเป็นจริงขณะที่พูดก็แล้วกัน) เช่น
He stands under the tree.
เขายืนอยู่ใต้ต้นไม้ (มองดูไปเห็นยืนอยู่จริง ยังไม่ไปไหน)
I have two books in the suitcase.
ฉันมีหนังสือ 2 เล่มอยู่ในกระเป๋า (เปิดออกมามีอยู่จริง)
Susan is my close friend.
ซูซานเป็นเพื่อนสนิทของฉัน (ขณะพูดก็เป็นมิตรกันอยู่)
(Verb ทั้งหมดต้องใช้ช่อง 1 เพราะเป็นความจริงขณะพูด)
4) ใช้กับเหตุการณ์ในอนาคต ซึ่งได้ตัดสินใจแน่นอนแล้วว่าจะปฏิบัติเช่นนั้น (นิยมใช้กับกริยาที่แสดงการเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง) ตามกฎการใช้ข้อที่ 4 นี้ จะมีคำวิเศษณ์บอกเวลาที่เป็นอนาคตมาร่วมด้วยก็ได้ เช่น
I leave by the 6.20 train this evening.
ผมจะออกเดินทางโดยขบวนรถไฟ 18.20 น. เย็นนี้
He sets sail tomorrow for Hua-Hin, and comes back next week.
เขาจะออกเรือไปหัวหินพรุ่งนี้ และก็จะกลับในสัปดาห์หน้า
We attack the enemies at dawn.
เราจะเข้าโจมตีข้าศึกเวลาเช้าตรู่
(เหตุการณ์ทั้ง 3 ประโยคจะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งได้ตัดสินใจจะปฏิบัติตามนั้น จึงใช้ Verb เป็น Present Simple Tense ได้)
5) ใช้กับเหตุการณ์ในประโยค Subordinate Clause (อนุประโยค) ที่บ่งบอกเวลาเป็นอนาคต ซึ่งประโยค Subordinate Clause ที่ว่านี้ จะขึ้นต้นประโยคของมันด้วยคำต่อไปนี้ คือ
if, when, whenever, unless, until, till, as soon as, while, before, after, as long as , etc.
เช่น
If the weather is fine tomorrow, we shall have a picnic.
ถ้าพรุ่งนี้อากาศดี เราก็จะไปเที่ยวกัน
Unless he sends the money before Friday, I shall consult my lawyer.
ถ้าเขาไม่ส่งเงินมาก่อนวันศุกร์ ผมก็จะไปปรึกษาทนายความของผม
Let’s wait until (till) he comes.
ขอให้เรารอจนกว่าเขาจะมา
When you see Daeng tomorrow, remember me to him.
เมื่อคุณพบแดงวันพรุ่งนี้ ก็ฝากความคิดถึงจากผมไปหาเขาด้วย
(Verb ของประโยคที่ขึ้นต้นด้วย if, unless, until, when ต้องใช้ Present Simple Tense เสมอ)
6) ใช้กับเหตุการณ์ในกรณีสรุปเรื่องที่เล่ามา แม้เหตุการณ์นั้นจะได้เกิดขึ้นแล้วในอดีต แต่เราก็ใช้ Verb เป็น Present Simple Tense ทั้งนี้เพื่อให้เรื่องที่เล่านั้นมีชีวิตชีวา เหมือนเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นในปัจจุบัน (ส่วนมากมักใช้ในการเขียนนิยาย, บทละคร) เช่น
Bassanio wants to go to Belmont to woo Portia. He asks Antonio to lend him money.
Antonio says that he hasn’t any at the moment until his ships come to port.
บัสสานิโอต้องการจะไปแบลมองต์เพื่อเกี้ยวจาพาราสีกับนางปอร์เซีย เขาขอยืมเงินอันโตนิโอ อันโตนิโอบอกว่า ขณะนั้นเขาไม่มีเงิน เอาไว้จนกว่าเรือเข้าเทียบท่าแล้ว (เขาจึงจะมีเงินให้ยืม)
(ดูให้ดี Verb ในประโยคต่างๆใช้ Present Simple Tense ทั้งๆที่เรื่องนี้เกิดในอดีตโน้น ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดความสนุกเหมือนเหตุการณ์ได้เกิดในปัจจุบัน)
7) การกระทำของกริยาที่ไม่สามารถแสดงอาการให้เห็นได้ เช่น กริยาแสดงความนึกคิด (Verb of Ideas) แสดงความรับรู้ (Verbs of Perception) แสดงภาวะของจิต (Verbs of Mind) แสดงความเป็นเจ้าของ (Verbs of Possession) ให้นำมาแต่งใน Present Simple Tense (เพราะกริยาเหล่านี้ไม่ใช้ในรูป Continuous Tense) เช่น
She loves her husband very much.
หล่อนรักสามีของหล่อนมากๆ
(loves เป็นกริยาแสดงภาวะของจิต ไม่สามารถทำเป็น Loving ได้)
He knows about how to open the can.
เขารู้วิธีที่จะเปิดกระป๋อง
(Knows เป็นกริยาแสดงความรับรู้ ไม่สามารถทำเป็น Knowing ได้)
Advanced English Grammar belongs to me.
หนังสือ Advanced English Grammar เป็นของของผม
(belong to เป็นกริยาแสดงความเป็นเจ้าของ)
She detests people who are unkind to animals
หล่อนเกลียดคนที่ไม่มีเมตตาต่อสัตว์
(Detests เป็นกริยาแสดงความรู้สึกนึกคิด)
8) ใช้กับเหตุการณ์ที่บุคคลหรือสัตว์ทำเป็นประจำ (Repeated Actions) หรือเป็นนิสัยเคยชิน (Habitual Actions and States) การใช้ในกรณีเช่นนี้ มักจะมีคำหรือกลุ่มคำหรือประโยค ซึ่งมีความหมายว่า บ่อยๆ, เสมอๆ, ทุกๆ…….ร่วมอยู่ด้วย
คำที่แสดงความบ่อยที่นำมาใช้ตามกฎข้อที่ 8 นี้แยกออกเป็น 3 ชนิดย่อยๆ คือ
คำ (word)
|
กลุ่มคำ (Phrase)
|
ประโยค (Clause)
|
Always
|
Everyday
|
Whenever he sees me
|
Often
|
Every week
|
Whenever he comes here
|
Sometimes
|
Every month
|
Every time he sees me
|
Frequently
|
Every year
|
Every time he comes here
|
Usually
|
Once a week
|
Whenever she can
|
Naturally
|
Twice a month
|
Whenever you want
|
Generally
|
In the morning
|
When he comes here
|
Rarely
|
On Sundays
(ทุกวันอาทิตย์) |
When he does his work
|
Seldom
|
Habitually
|
On week days
(ทุกวันธรรมดา) On holidays (ทุกวันหยุด) |
จำ : ประโยคแสดงความบ่อย ความเป็นประจำ รูปของกริยาประโยคนั้นต้องใช้ Present Simple Tense เช่น
He says hello to me whenever he sees me.
เขาพูดสวัสดีกับผมเมื่อเขาเห็นผม
(Says ต้องเป็น Present Simple Tense เพราะมีประโยคแสดงความเป็นประจำคือ Whenever he sees me มากำกับบอกเวลาได้)
I wash my car every week-end.
ผมล้างรถของผมทุกๆ วันหยุดสัปดาห์
She usually relaxes after game.
โดยปรกติหล่อนจะผักผ่อนหลังเล่นกีฬาเป็นประจำ
David visits his home twice a year.
เดวิดจะไปเยี่ยมบ้านปีละ 2 ครั้ง
Somsri habitually gets up early.
สมศรีตื่นแต่เช้าตรู่เป็นประจำ
We go to school every day.
พวกเราไปโรงเรียนทุกๆวัน
(ประโยคที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ใช้ Verb เป็น Present Simple Tense เพราะมีคำบอกแสดงความบ่อย ความเป็นประจำมาร่วมด้วย)