การใช้ Subject Form และ Object Form
ตามหลัง Verb to be และคำที่คล้าย Verb to be
ถาม : อาจารย์ครับ Pronoun ที่มาตาม Verb to be, except, let, than, as…as, such as, between, และ but, เราจะใช้รูปแบบไหนดีระหว่าง Subject Form (รูปประธาน) กับ Object Form (รูปกรรม) ?
ตอบ : ครับ.. คำเหล่านี้สับสนพอสมควร เมื่อมี Pronoun มาตามหลังเพราะเกิดปัญหาอยู่เสมอว่า จะใช้รูปที่เป็นประธานหรือรูปที่เป็นกรรมกันแน่ บางครั้งควรจะใช้รูปที่เป็นประธานก็กลับไปใช้รูปที่เป็นกรรมเสียหรือบางทีน่าจะใช้รูปที่เป็นกรรมก็เห็นไปใช้รูปที่เป็นประธาน เฮ้อ ฟังพูดแล้วก็ยุ่งยากเหลือเกิน แต่อย่าพึ่งน้อยใจเลยครับ มา มาเถอะ มาใกล้ๆ อาจารย์สำราญคนนี้จะอธิบายให้ฟัง ขอให้ทำใจให้สงบแล้วหันหน้ามาทางนี้
1. ให้ใช้สรรพนามที่เป็นรูปกรรม (Object Form) เมื่อไปตามหลัง Verb to be ในประโยคที่ว่า
It’s……….
That’s……….
This is……….เช่นประโยคว่า
Who is that ? it’s me. (อย่าใช้ it’s i.)
นั่นใคร ? ผมเองครับ
That’s her over there. (อย่าใช้ That’s she over there.)
นั่นไงหล่อนอยู่ที่นั่น
Look at this photo. This is me standing in front of the White House.
ดูภาพถ่ายนี้ซิ นี้คือผมยืนอยู่หน้าทำเนียบขาว
(อย่าใช้____This is I_____.)
2. ตามหลัง Verb to be ในประโยคต่อไปนี้จะใช้รูปที่เป็นประธานหรือรูปที่เป็นกรรมย่อมได้ทั้งนั้น สุดแท้แต่ความหมายหรือใจความของประโยคนั้นว่า อยู่ในลักษณะไหนคือเป็นผู้กระทำหรือถูกระทำของประโยคที่ตามหลัง ตัวอย่างเช่น
2.1 ให้ใช้ Pronoun ที่เป็นรูปประธาน (Subject Form) เพราะอยู่ในลักษณะเป็นผู้กระทำในประโยคที่ตามหลัง เช่น
It was I who bought this house last year.
ผมนี่แหละได้ซื้อบ้านหลังนี้ไว้เมื่อปีที่แล้ว
(ใช้ I เพราะอยู่ในฐานะเป็นผู้กระทำกริยาคือ bought)
It is she who can speak Chinese here.
หล่อนคนนี้แหละที่สามารถพูดภาษาจีนที่นี่ได้
(ใช้ she เพราะอยู่ในฐานะเป็นผู้กระทำกริยาคือ can speak)
2.2 ให้ใช้ Pronoun ที่เป็นรูปกรรม (Object Form) เพราะอยู่ในลักษณะที่เป็นผู้ถูกกระทำ พูดง่ายๆก็คือ เป็น Object ของกริยาในประโยคที่ตามหลัง เช่น
It is them whom we are looking for.
ก็พวกเขานี้แหละที่เรากำลังตามหาอยู่
(ใช้ them เพราะอยู่ในฐานเป็นกรรมของ looking for)
It was me whom she loved very much.
ผมนี่แหละที่หล่อนรักมาก
(ใช้ me เพราะอยู่ในฐานเป็นผู้ถูกกระทำคือ ถูกหล่อนรัก)
อนึ่ง กฎข้อ 2.1 และ 2.3 นี้ให้รวมถึงการใช้ Pronoun ตามคำสั่ง except ด้วย นั่นคือ
ก. ถ้าอยู่ในฐานเป็นผู้กระทำ ให้ใช้รูปที่เป็นประธาน เช่น
No one except he who could speak French.
ไม่มีใครนอกจากเขาที่สามารถพูดภาษาฝรั่งเศสได้
(ใช้ he เพราะอยู่ในฐานเป็นผู้กระทำ could speak)
No one except I who was able to solve the problem.
ไม่มีใครเลยนอกจากผมที่สามารถแก้ปัญหานั้นได้
(ใช้ I เพราะอยู่ในฐานเป็นผู้กระทำ)
ข. แต่ถ้าอยู่ในฐานเป็นผู้ถูกกระทำ ให้ใช้ Pronoun ที่เป็นรูปกรรม เช่น
No one except him whom she failed in love.
นอกจากเขาแล้วก็ไม่มีใครหรอกที่หล่อนตกหลุมรัก
(ใช้ him เพราะเป็นกรรมของกริยา failed in love)
No one except her who(m) I asked for marrying.
ไม่มีใครนอกจากเธอผู้ซึ่งฉันขอแต่งงานด้วย
(ใช้ her เพราะเป็นกรรมของกริยา asked for)
3. Pronoun ที่เรียงตามหลัง let ให้ใช้รูปที่เป็น Object Form คือรูปที่เป็นกรรมตลอดไป เช่น
Let me congratulate you on winning the prize.
ขอผมแสดงความยินดีกับคุณที่ได้รับรางวัลหน่อยเถอะ
Don’t Let him live here alone, please.
กรุณาอย่าให้เขาพักอยู่ที่นี่คนเดียวน่ะ
(ใช้ me และ him อย่าใช้ I หรือ he เป็นอันขาด)