4. Pronoun ที่ตามหลัง than จะใช้รูปประธานก็ได้ หรือ รูปกรรมก็ได้ สุดแท้แต่ความมุ่งหมายของผู้พูด และ than นั้นมักจะมี more อยู่หน้าเสมอ เช่น
I love you more than she.
ผมรักคุณมากกว่าหล่อน
(หมายความว่า ผมรักคุณมากกว่าหล่อนรักคุณ ดังนั้นเมื่อหล่อนก็เป็นผู้ไปรักคุณแข่งกับผม หล่อนจึงอยู่ในฐานเป็นประธานจึงใช้ she เพราะมุ่งเป็นผู้กระทำ)
I love you more than her.
ผมรักคุณมากกว่าหล่อน
(หมายความว่า ประโยคนี้มีคุณและหล่อนอยู่ 2 คน ผมเลยตัดสินใจรักคุณมากกว่ารักหล่อน ดังนั้นหล่อนอยู่ในฐานที่ผมรักหรือตัวกรรม จึงใช้ her เพราะมุ่งเป็นผู้ถูกกระทำ)
5. ตามหลัง as…as จะใช้รูปที่เป็นประธานก็ได้ กรรมก็ได้ สุดแท้แต่ความหมายของผู้พูด เช่น
He likes her as much as I.
เขาชอบเธอมากเท่ากันกับผม
(หมายความว่า เขาชอบเธอมากเท่ากันกับที่ผมชอบ ผมอยู่ในฐานเป็นผู้ไปชอบ มุ่งความเป็นผู้กระทำ จึงใช้ I)
I like you as much as him.
ผมชอบคุณมากเท่ากันกับเขา.
(หมายความว่า ผมชอบคุณเท่าไร ก็ชอบเขาเท่านั้น “เขา” ที่ตามหลัง as มุ่งความเป็นผู้ถูกกระทำ อยู่ในฐานเป็นกรรมจึงต้องใช้ him)
6. ตามหลัง such as จะใช้รูปประธานหรือกรรมได้ทั้งนั้น สุดแท้แต่ความมุ่งหมายของผู้พูดอีก เช่น
I give them money such as she.
ฉันให้เงินพวกเขาเช่นเดียวกันกับหล่อน (ให้)
(หมายความว่า ผมให้เงินเขาเช่นเดียวกับที่หล่อนให้ ดังนั้นหล่อนอยู่ในฐานเป็นผู้ให้ (ผู้กระทำ) จึงใช้ she)
You will visit us such as her.
คุณจะไปเยี่ยมพวกเราเช่นเดียวกับเธอ
(หมายความว่า คุณจะไปเยี่ยมพวกเรา เช่นเดียวกับที่คุณไปเยี่ยมเธอมาก่อน ดังนั้น “เธอ” ซึ่งอยู่ในฐานเป็นผู้ถูกคนอื่นที่เยี่ยมคือถูกทำ จึงใช้รูปกรรมคือ her)
7. Pronoun ที่มาตามหลัง between (ระหว่างของ 2 อย่าง) ต้องใช้รูปกรรม (Object Form) ตลอดไป เช่น
The principal is standing between him and me.
อาจารย์ใหญ่กำลังยืนอยู่ระหว่างเขาและผม
(อย่าใช้ between he and I เป็นอันขาดนะจ๊ะ)
8. But ในกรณีที่แปลว่า “นอกจาก, ยกเว้น” (except) เมื่อมี Pronoun มาตามหลังให้ใช้รูปที่เป็นประธาน (Subject Form) ตลอดไป เช่น
All but he could pass the examination.
ทั้งหมดนอกจากเขา (คนเดียว) สอบได้ทั้งนั้น
All but I had escaped.
ทั้งหมดยกเว้นผมได้หนีไปแล้ว
2.2 Possessive Pronoun แปลว่า “สามีสรรพนาม” หมายถึงสรรพนามที่ใช้แทนนามในกรณีแสดงความเป็นเจ้าของ ถ้ามองให้ลึกซึ้งอย่างถ่องแท้แล้ว Possessive Pronoun ก็มิใช่คำอื่นที่ไหน แท้ที่จริงแล้วก็ได้แก่ Personal Pronoun คือ บุรุษสรรพนาม รูปที่ 4 นั่นเอง ได้แก่
Mine
|
ของผม, ของฉัน
|
Ours
|
ของเรา
|
Yours
|
ของท่าน
|
His
|
ของเขา
|
Hers
|
ของหล่อน
|
Its
|
ของมัน
|
Theirs
|
ของพวกเขา
|
เห็นแล้วใช่ไหมว่า คำเหล่านี้แหละเรียกว่า Possessive Pronoun ทีนี้ปัญหาต่อไปก็คือว่า เมื่อคำเหล่านี้เป็นสามีสรรพนามแล้ว เวลาพูดหรือเขียนจะมี่วิธีใช้อย่างไร ? ก็ขอตอบให้ทราบว่า มีวิธีใช้อยู่ 3 อย่าง คือ :
2.1 ใช้เป็นประธานของกริยาในประโยคได้ (Subject of a Verb) แต่ทั้งนี้ต้องมีข้อความอื่นเล่าเรื่องมาก่อน เช่น
Your friend is Indian, mine is American.
เพื่อนของคุณเป็นคนอินเดีย ของฉันเป็นคนอเมริกัน
(mine เป็น Possessive Pronoun มาทำหน้าที่เป็นประธานของ is)
His brother is a tall boy; but hers is a short one.
น้องชายของเขาเป็นเด็กรูปร่างสูง แต่ของหล่อนเป็นเด็กเตี้ย
(hers เป็น Subject ของกริยา is ในประโยค)
2.2 ใช้เป็น Subjective Complement คือ “ส่วนสมบูรณ์ของกริยาในประโยค” และส่วนมากจะเรียงตามหลัง Verb to be เช่น
This bicycle is mine; that one is yours.
รถจักรยานคันนี้เป็นของฉัน แต่คันนั้นเป็นของคุณ
(mine และ yours เป็นสามีสรรพนาม ทำหน้าที่เป็นส่วนสมบูรณ์ของกริยา is)
This ruler is his; that one is hers.
ไม้บรรทัดอันนี้เป็นของเขา อันนั้นเป็นของหล่อน
(his และ hers ทำหน้าที่เป็นส่วนสมบูรณ์ของกริยา is)
2.3 ใช้เพื่อเน้นความเป็นเจ้าของให้เด่นชัดขึ้น (Double Possessive) แต่ต้องวางหลัง บุรพบท of อีกทีหนึ่ง ตามสูตรวลีสำเร็จรูปดังนี้ a + noun +of + Possessive Pronoun เช่น
A friend of mine = one of my friends เพื่อนคนหนึ่งของฉัน