เรียนภาษาอังกฤษ เรื่อง Pronunciation ตอนที่ 2 (ตอนจบ)
การออกเสียงพยัญชนะบางตัวในคำอ่าน
มีพยัญชนะบางตัวในภาษาอังกฤษซึ่งเมื่อนำมาผสมเป็นคำอ่านแล้ว จะออกเสียนงผิดไปจากความหมายของพยัญชนะตัวนั้นๆ ซึ่งรายละเอียดมีอย่างไร ขอได้โปรดติดตาม..
พยัญชนะ C :
C จะออกเสียงเป็น k (คือเท่ากับ “ค”) ในกรณีที่
1)เมื่อ c ตามด้วยสระ a, o, u เช่น
call (คอล), cold (โคลด), cut (คัท)
can (แคน), could (คู๊ด), coin (คอย)
2)เมื่อ c ทำหน้าที่เป็นตัวสะกด เช่น :
Olympic (โอลิมปิค), picnic (ปิกนิค)
act (แอ็ค), nick (รอยบิ่น, เวลาขณะหนึ่ง)
C จะออกเสียงเป็น s (คือเท่ากับ “ส”) เมื่อตามด้วยสระ e, I, y เช่น
per cent (เปอร์เซ็นต์), accident (แอ็คซิเด้นท์)
city (ซิทที) cypress (ไซเพรส), cycle (ไซคึล)
CC จะออกเสียงเป็น k (เท่ากับ “ค”) เมื่อตามด้วยสระ a, o เช่น
Account
|
(แอ็คเค้าท์)
|
Accord
|
(แอ็คเคิด)
|
Acclaim
|
(แอ็คเคลม)
|
Accomplice
|
(แอ็คคอมพลีซ)
|
หรือออกเสียงเป็น ks (คซ) เมื่อตามด้วย e, i เช่น :
Accent
|
(แอ็คเซ้นท์)
|
Vaccine
|
(แว็คซีน)
|
พยัญชนะ ch
ch โดยปกติจะออกเสียง “ช” เสมอ เช่น
chair (แชร์) cheap (ชีพ)
แต่ ch จะออกเสียงเท่ากับ k (ค) เมื่อคำนั้นมาจากภาษากรีก ได้แก่คำต่อไปนี้
Echo
|
เอคโค้
|
เสียงก้อง
|
Ache
|
เอ๊ค
|
ความเจ็บปวด
|
Epoch
|
อีพ๊อค
|
สมัย
|
Choir
|
ควาเออะ
|
กลุ่มนักร้อง
|
Chaos
|
เคอ็อส
|
ความวุ่นวาย
|
Christ
|
ไคร้สท์
|
พระเยซู
|
Chemist
|
เคมิส
|
เภสัชกร
|
Anchor
|
แอนคอร์
|
สมอเรือ
|
Stomach
|
สโทแมค
|
ท้อง
|
Architect
|
อาร์คิเทค
|
สถาปนิก
|
Archaic
|
อาเคอิค
|
โบราณ,เก่า
|
Cholera
|
คอเลอร่า
|
เชื้ออหิวาต์
|
Technical
|
เทคนิคคัล
|
แห่งหลักวิชา
|
Technique
|
เทคนิค
|
หลักวิชา
|
Character
|
คาแรคเตอร์
|
นิสัย
|
School
|
สคูล
|
โรงเรียน
|
Technology
|
เทคน็อลโลจิ
|
วิชาเทคนิค
|
Qu ตัวนี้โดยปกติจะออกเสียง kw (คว) เสมอ เช่น
equal อีควอล เท่าเทียมกัน
liquid ลิควิด ของเหลว
conquest คอนเควสท์ ชัยชนะ
แต่ถ้า qu มาเป็นตัวสะกดและมี e ตาม คือสะกดด้วย que จะออกเสียงเป็น k (ค) เฉยๆ (ไม่ใช่ kw = คว เช่น
cheque เช็ค ใบเบิกเงิน
unique ยูนิค เอกภาพ
opaque โอเปค ตัวกลางทึบแสง
หมายเหตุ ถ้าเป็น qu ต่อไปนี้ออกเสียงเป็น k (ค) เท่านั้นได้แก่
mosquito มอสคิโท ยุง
liquor ลิเคอร์ เหล้า
queue คิว แถว
th ตัวนี้มีการออกเสียงอยู่ 2 อย่างคือ
1) th ออกเสียงเป็น “ซีต้า” (คือใช้ปลายลิ้นแตะปลายฟันทั้งบนและล่างแล้วจึงเปล่งเสียงออกมา) เช่น
think, thank, thin, thing
2) th ออกเสียงเป็น “เดลต้า” คือออกเสียง ด ค่อนข้างไปทาง ธ เช่น that, this, those, then, they
พยัญชนะที่ไม่ออกเสียง (Silent Consonant)
มีพยัญชนะอยู่บางตัวซึ่งเมื่อมารวมกันผสมเป็นคำเรียบร้อยแล้ว แต่ไม่ออกเสียง ซึ่งพยัญชนะดังวามานี้ได้แก่ตัวไหนบ้างนั้น มาดูกัน
b จะไม่อ่านออกเสียง เมื่อ b นำหน้าด้วย m เช่น
Bomb
|
บอม
|
ทิ้งระเบิด
|
Lamb
|
แลมป์
|
ลูกแกะ
|
Comb
|
คม
|
หวี
|
Dumb
|
ดัม
|
เป็นใบ้
|
Limb
|
ลิม
|
แขนขา
|
Climb
|
ไคลม
|
ปีนป่าย
|
Succumb
|
ซัคคัม
|
ยอมแพ้
|
Plumber
|
พลัมเมอะ
|
ช่างบัดกรี
|
Remember
|
รีเมมเบอร์
|
จำ
|
ยกเว้น :
อนึ่งเมื่อ b อยู่หน้า t พยัญชนะ b ไม่ต้องอ่านออกเสียงอีกเช่นกัน
debt เด้ด หนี้สิน
doubt เด้า การสงสัย
subtle ซัททึล อธิบายยาก, รุนแรง
t ไม่อ่านออกเสียง เมื่อ t อยู่หลังพยัญชนะ s ของคำต่อไปนี้ ได้แก่
castle คาสซึน ปราสาท
listen ลิสซึน ฟัง
fasten ฟาสซึน ผูก,มัด,ทำให้แน่น
whistle วีสซึน เป่านกหวีด
hasten เอชึน รีบเร่ง
wrestle เวสซึน ปล้ำมวย
postpone โพสทโพน เลื่อนออไป
อนึ่ง t อยู่หลัง f ก็ไม่อ่านออกเสียงอีกเช่นกัน ได้แก่คำต่อไปนี้คือ
often ออฟฟึน บ่อยๆ
soften ซอฟฟึน ทำให้อ่อนลง
G ไม่อ่านออกเสียง เมื่อ g นำอยู่ข้างหน้า พยัญชนะ m หรือ n ได้แก่คำต่อไปนี้คือ
compaign แคมเพน การขับเคี่ยว
paradigm แพระดิม แบบอย่างไวยากรณ์
foreign ฟอเรน ต่างประเทศ
assign แอสไซน์ กำหนด, แต่งตั้ง
sovereign วอฟวึริน ผู้มีอำนาจ, สูงยิ่ง
gnat แน้ท ตัวมด
ข้อยกเว้น : แต่ถ้า g อยู่หน้าพยัญชนะ n ของคำต่อไปนี้ ให้อ่านออกเสียง g ได้ ได้แก่
signature ซเนเช่อะ ลายเซ็น
resignation รีซิกเนชัน การลาออก
signify ซิกนิฟาย ทำเครื่องหมายให้เห็น
signal ซิกแนล ให้สัญญาณ
w จะไม่อ่านออกเสียนง เมื่อ w อยู่หน้าพยัญชนะ r ได้แก่ คำต่อไปนี้
write ไร้ท์ เขียน
wrist ริสท ข้อมือ
wrap แร็พ ห่อ
wrong รอง ผิด
wreath รีด พวงหรีด
wring ริง ปิดด้วยกำลัง
wrestle เรสซึน มวยปล้ำ
wrinkle ริ่งคึล ย่น
อนึ่ง w หลัง s ก็ไม่ต้องอ่านออกเสียงได้แก่คำต่อไปนี้
answer อ้านเซอร์ ตอบ, คำตอบ
sword ซอด ดาบ, กระบี่
d จะไม่อ่านออกเสียนงเมื่ออยู่ในคำต่อไปนี้
Wednesday เวนซเดย์ วันพุธ
handkerchief แฮ็งเคอะชีฟ ผ้าเช็ดหน้า
handsome แฮนซัม รูปหล่อ
k ไม่อ่านออกเสียง เมื่ออยู่หน้า n เช่น
know โนว รู้, ทราบ
knee นี เข่า
knife ไน้ฟ มีด
knot น้อท ปมเชือก
kneel นีล คุกเข่า
knob นอบ ปุ่ม, ลูกบิด
knight ไน้ท ขุนนาง
knock น็อท เคาะ, ชน, ทุบ
etc.
L ไม่อ่านออกเสียง เมื่อคำๆ นั้นสะกดด้วย –alk, -alf, -alm เช่น
chalk ชอล์ค ชอล์คที่ใช้เขียน
calm คาล์ม เงียบ, สงบ
half ฮ้าฟ ครึ่ง
n ไม่อ่านออกเสียง เมื่อคำ ๆ นั้นสะกดด้วย –mn เช่น
autumn ออทั่ม ฤดูใบไม้ร่วง
clumn คอลลัม แถว, เสาใหญ่
damn แดม เลวทราม
condemn คอนเดม ประณาม
solemn โซเลม โง่
แต่ถ้า n มีสระต่อท้ายให้ออกเสียง n ด้วย เช่น
columnist คอลลัมนิสท์ นักเขียนบนความ
condemnation ค็อนเดมเนชั่น การคว่ำบาตร
P ไม่อ่านออกเสียงในคำอ่านต่อไปนี้
pshchology ไซค็อลโลจิ จิตวิทยา
pneumonia นิวโมเนีย โรคปอดบวม
psalm ซาม บทสวด