Shall I compare thee to a summer’s day?
Thou art more lovely and more temperate:
Rough winds do shake the darling buds of May,
And summer’s lease hath all too short a date:
Sometimes too hot the eye of heaven shines,
And often is his gold complexion dimmed;
And every fair from fair sometime declines,
By chance or nature’s changing course untrimmed;
But thy eternal summer shall not fade,
Nor lose possession of that fair thou ow’st;
Nor shall death brag thou wander’st in his shade,
When in eternal lines to time thou grow’st:
So long as men can breathe, or eyes can see,
So long lives this, and this gives life to thee.
ฉันจะเปรียบเจ้ากับวันฤดูร้อนดีไหม?
เจ้านั้นน่ารักและเยือกเย็นมากกว่าเสียอีก
สายลมกระโชกเขย่าดอกรักแรกผลิในเดือนพฤษภา
ผืนดินหน้าร้อนถึงมีก็เพียงวันเวลาที่แสนสั้น
บางครั้งร้อนเกินไปในยามที่ดวงตาสวรรค์สาดส่อง
และผิวหน้าสีทองของท่านสลัวลงอยู่บ่อยๆ
และทุกแหล่งแห่งความงามบางคราวก็ลดลง
โดยบังเอิญหรือวิธีแปรเปลี่ยนแห่งธรรมชิตที่ไร้เติมแต่ง
แต่กับเจ้านี่ซิฤดูร้อนอันเนิ่นนานจะไม่จืดจาง
แล้วก็ไม่สูญสิ้นการครอบครองความงามที่เจ้ามี
ไม่เลยแม้ความตายฉุดเจ้าสู่ร่มเงาของมัน
ในช่วงเวลาจากเส้นทางนิรันดรจนเจ้าเติบโต
ตราบที่มนุษย์ยังหายใจ, หรือสายตายังมองเห็น
ตราบที่เป็นเช่นนี้, และนี่เองที่ให้ชีวิตกับเจ้า
เค้าโครง
Sonnet คือ บทกวีที่มี 14 บรรทัด แต่ละบรรทัดจะมี 10 พยางค์ และมีคำสัมผัสตามโครงสร้างที่กำหนด เป็นบทกวีสมัยโบราณ
คำศัพท์
thee เป็นสรรพนามบุรุษที่ 2 แปลว่า “ท่าน, คุณ, เป็นคำในรูปแบบของ “กรรม”
thou เป็นสรรพนามในแบบใช้เป็นประธาน แปลว่า “ท่าน, คุณ”
buds ดอกไม้ตูม
lease ผืนแผ่นดิน
hate เท่ากับ had ในปัจจุบัน แปลว่า “ได้มี”
course วิถีทาง, หนทาง
untrimmed มิได้ตัดแต่ง
ow’st ปัจจุบันคำนี้คือ owe แปลว่า “ครอบครอง”
เขาใส่ st ลงท้ายคำกริยา เพื่อเน้นในจุดที่สำคัญๆ
ไวยากรณ์
โครงสร้างไวยากรณ์ของภาษาโบราณ ถึงจะไม่ค่อยเห็นในยุคนี้ แต่บางจุดก็น่าศึกษานำมาใช้ได้เช่นกัน
นำไปสนทนา
1. Chiengmai has a temperate climate.
(เชียงใหม่มีอากาศที่สุขสบาย)
2. He has a very fair complexion
เขามีผิวพรรณที่ดูดีมากๆ