การบอกเวลาในภาษาอังกฤษ มีวิธีการพูดหลายอย่าง ดังต่อไปนี้
1. ถ้าจะบอกเวลาเต็มๆ ชั่วโมง ให้ใช้คำว่า “O’Clock” ตามหลังเวลาที่จะบอกเสมอ เช่น
    It’s six o’clock.
    อิทส ซิคซ โอ คล็อค
    เวลาหกโมงเช้า/เย็น

2. การบอกเวลาที่มีเศษนาทีในกรณีที่ไม่เกิน 30 นาที ให้ใช้ “past” นำหน้าชั่วโมงในขณะนั้น โดยมีโครงสร้างการเรียงประโยคดังนี้
    เศษนาทีที่ไม่ถึง 30 นาที + past + ชั่วโมงขณะนั้น
    เชน

    It’s twenty-five past time.
    อิทส ทเว็นตี้ ไฟว์ พาสท์ ไนน์
    ผ่าน 9 นาฬิกามา 25 นาที (เวลา 9.25 นาฬิกา)

    It’s nineteen past eight.
    อิทส ไนน์ทีน พาสท์ เอธ
    ผ่าน 8 นาฬิกามา 19 นาที (เวลา 8.19 นาฬิกา)

3. การบอกเวลาที่มีเศษนาทีในกรณีที่เกิน 30 นาที ให้ใช้ “to”
นำหน้าเวลาที่จะถึง โดยมีโครงสร้างการเรียงประโยค ดังนี้
    เศษนาทีที่เกิน 30 นาที + to + ชั่วโมงที่จะถึง
    เช่น
    it’s twenty to eleven.
    อิทส ทเว็นตี้ ทู อีเลฟเว่น
    อีก 20 นาทีจะ 11 นาฬิกา (เวลา 10.40 นาฬิกา)

    It’s five to twelve.
    อิทส ไฟว์ ทู เทวลฟ์
    อีก 5 นาที จะ 12 นาฬิกา (เวลา 11.55 นาฬิกา)

4. การบอกเวลาที่เศษนาทีเท่าเดิม 15 นาที มีโครงสร้างการเรียงประโยค ดังนี้
    a quarter past + ชั่วโมงในขณะนั้น
    เช่น
    It’s a quarter past three.
    อิทส อะ ควอเตอร์ พาส ธรี
    ผ่าน 3 นาฬิกามา 15 นาที (เวลา 3.15 นาฬิกา)

    แต่ถ้าเศษนาทีเท่ากับ 45 นาที มีโครงสร้างการเรียงประโยค ดังนี้
    a quarter to + ชั่วโมงที่จะถึง
    เช่น
    It’s a quarter to six.
    อิทส อะ ควอเตอร์ ทู ซิคซ
    อีก 15 นาทีจะ 6 นาฬิกา (เวลา 5.45 นาฬิกา)

5. การบอกเวลาที่เศษนาทีเท่ากับ 30 นาที ให้ใช้ “half past” มีโครงสร้างการเรียงประโยค ดังนี้
    half past + ชั่วโมงในขณะนั้น
    เช่น
    It’s half past seven.
    อิทส ฮาล์ฟ พาสท เซเว่น
    ผ่าน 7 นาฬิกามา 30 นาที (เวลา 7.30 นาฬิกา)

6. การบอกเวลาตามตัวเลขบนหน้าปัดนาฬิกา เช่น
    It’s two fifteen.
    อิทส ทู ฟิฟทีน
    เวลา 2.15 นาฬิกา
   
    It’s three twenty-five.
    อิทส ธรี ทเว็นตี้ ไฟว์
    เวลา 3.25 นาฬิกา

เราอาจใช้ a.m. และ p.m. ในการบอกเวลาได้ด้วย โดยมีกฏเกณฑ์ ดังนี้

    a.m. ย่อมาจาก ante meridium
    ใช้ในการบอกเวลาตั้งแต่เที่ยงคืนถึงเที่ยงวัน

    p.m. ย่อมาจาก post meridium
    ใช้ในการบอกเวลาตั้งแต่เที่ยงวันถึงเที่ยงคืน

ตัวอย่าง เช่น
    9 โมงเช้า ใช้ว่า 9.00 a.m.
    3 ทุ่ม ใช้ว่า 9.00 p.m.
    6 โมง 20 นาที ตอนเช้า ใช้ว่า 6.20 a.m.
    6 โมง 20 นาที ตอนเย็น ใช้ว่า 6.20 p.m.
    7 โมง 30 นาที ตอนเช้า ใช้ว่า 7.30 a.m.
    1 ทุ่มครึ่ง ใช้ว่า 7.30 p.m.