แยกร่างแฝดที่มีหัวใจติดกัน
แฝดพี่ปานตะวัน ทิเย็นใจ ที่ได้ผ่าตัดแยกร่างแล้วนอนในอ้อมแขนแม่อย่างสบายในขณะที่น้องสาวปานวาดนั่งบนตักพ่อโรงพยาบาลศิริราชเมื่อวานนี้แถลงข่าว ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นครั้งแรกในโลกที่ประสบความสำเร็จในการแยกร่างแฝดคู่ติดกันที่มีหัวใจและตับเชื่อมกัน การผ่าตัดมีขึ้นปลายเดือนกุมภาพันธ์
แปลไทยเป็นอังกฤษ
Separated elder twin Pantawan Thiyenjai rests comfortably in her mother’s arms, while her sister Panwad sits on her father’s lap. Siriraj hospital yesterday announced what is said to be the world’s first successful separation of conjoined twins whose hearts and livers were connected. The operation was performed in late February.
โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวานนี้แถลงข่าวการผ่าตัดแยกร่างแฝดที่มีหัวใจและตับติดกัน
ปานะตะวันและปานวาด ทิเย็นใจ อายุ 10 เดือน เกิดเมื่อมิถุนายนปีที่แล้วโดยการผ่าคลอด ทั้งสองคนติดกันตั้งแต่ทรวงอกด้านบนจนถึงบริเวณหน้าท้องด้านล่าง
แปลไทยเป็นอังกฤษ
Siriraj hospital yesterday announced the wolrd’s first successful separation of conjoined twins whose hearts and livers were connected.
Ten-month-old Pantawan and Panwad Thiyenjai were born by caesarean section last June, joined from the top of the chest to the bottom of the abdomen.
“นี่เป็นครั้งแรกในโลกที่แฝดคู่ที่มีหัวใจและตับติดกัน มีชีวิตรอดมาได้หลังการผ่าตัดแยกร่าง” น.พ. มงคลเลาหเพ็ญแสง กุมารศัลยแพทย์ และเป็นหนึ่งในทีมผ่าตัดที่ใช้เวลาผ่าถึง 12 ชั่วโมง แถลงข่าว
แปลไทยเป็นอังกฤษ
“This is the first time in the world that twins who were connected by their heats and livers have survive an operation to separate them, “ Said Dr Mongkol Laohapensang, a pediatrician and member of the team which performed the 12-hour operation.
“เด็กจะได้รับการผ่าตัดเพิ่มเติมเมื่อหัวใจแข็งแรงขึ้น”
คุณหมอกล่าว
แฝดพี่ปานตะวันมีสุขภาพดีมาก
แฝดคู่นี้ได้ถูกผ่าตัดแยกร่างปลายเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งมีอายุ 8 เดือน ทางโรงพยาบาลเลื่อนการแถลงข่าวเกี่ยวกับกระบวนการผ่าตัดจนกว่าแพทย์แน่ใจว่าเด็กมีโอกาสดีที่จะรอดชีวิตได้
แปลไทยเป็นอังกฤษ
“She will undergo further surgery when her heart is stronger,” said the doctor.
The elder twin, Pantawan, is in great shape.
The twins were separated in late February, when they were eight months old. The hospital delayed making an announcement about the procedure until doctors were sure that the girls had a good chance of survival.
กระบวนการผ่าตัดใช้บุคลากรทางการแพทย์ 61 คน ซึ่งเป็นวิสัญญีแพทย์ 14 คน ศัลยแพทย์ตกแต่ง 7 คน ศัลยแพทย์หัวใจ 5 คน และกุมารศัลยแพทย์ 5 คน บุคลากร เป็นคนไทยทั้งหมด
แปลไทยเป็นอังกฤษ
The procedure involved 61 medical staff — including 14 anesthesiologists, seven plastic surgeons, five heart surgeons and five pediatric surgeons. All of them are Thai.
น.พ. มงคล กล่าวว่า นายแพทย์หลายท่านได้ตัดสินใจที่จะทำการผ่าตัดหลังจากการตรวจอย่างละเอียด พบว่า หัวใจทั้งสองมีการทำงานโดยไม่พึ่งพากัน
แปลไทยเป็นอังกฤษ
Dr Mongkol said doctors decided to perform the operation after thorough examinations showed that the twins’ hearts were not dependent on each other.
คุณแม่มือใหม่อุษา ทิเย็นใจ อายุ 29 ปี เปิดเผยว่า เขายอมให้ผ่า ซึ่งมีความเสี่ยงมาก เพราะว่ารู้สึกสงสารลูกมาก
“เวลานอนร่างของลูกคนเล็กต้องถูกยกขึ้นสูงจากฟูกเพราะว่าตัวเล็กกว่า ทั้งสองคนหัวแบนเพราะว่านอนได้ข้างเดียว” นางอุษากล่าว นางรับรู้ตั้งแต่ตอนตั้งครรภ์แล้วว่ามีเด็กแฝดตัวติดกัน
แปลไทยเป็นอังกฤษ
First-time mother Usa Thiyenjai, 29, said she agreed to the risky operation because she felt such pity for her babies.
“When they slept, the body of the younger twin was lifted high up from the mattress because she is smaller. Their heads became flat because they could sleep only on one side,” Sadi Ms Usa Who learned during her pregnancy that she was carrying conjoined twins.
ถึงแม้ว่าจะรู้สึกเศร้า แต่นางก็ได้รับกำลังใจและการรักษาที่ดีที่โรงพยาบาล (ศิริราช) นางกล่าว
เด็กทั้งสองมีน้ำหนักแรกคลอดรวม 3,450 กรัม
“ทีแรกคุณหมอหลายท่านก็บอกให้ลุ้นว่าอาจมีเด็กตาย 1 คน หรือ 2 คน [หลังการผ่าตัด] แต่คุณหมอก็ทำได้สำเร็จ
ฉันขอขอบคุณคุณหมอและพยาบาลจริงๆ” นางกล่าว
แปลไทยเป็นอังกฤษ
Though she felt sad about it, she had received good support and treatment from the hospital, she said.
At birth the twins had a total weight of 3,450 grams.
“At first, the doctors told me to prepare to lose one or both of my twins [after the operation]. But they did it. I am so thankful to the doctors and nurses,” she said.
นางอุษาต้องเดินทางประมาณ 70 กม. จากสมุทรสงครามมากรุงเทพฯ ทุกวัน เพื่อมาดูลูกสาวทั้งสองที่โรงพยาบาล
“ฉันไม่รู้สึกรำคาญการเดินทางระหว่างบ้านและโรงพยาบาล ขอให้ได้อยู่กับลูกบ้างทุกๆวันก็พอแล้วค่ะ” นางกล่าว
แปลไทยเป็นอังกฤษ
Ms Usa has to travel about 70 km from Samut Songkhram to Bangkok every day to see her daughters at the hospital.
“I don’t mind the journey between my home and the hospital. I just want to be with them every day,” she said.