ตามที่ได้กล่าวไว้แล้วว่า Sentence หรือประโยคนั้นประกอบด้วยส่วนสำคัญอยู่ 2 อย่างคือ ภาคประธานและภาคกริยา หรือภาคขยาย ภาคประธานได้อธิบายให้เห็นแล้วว่า ได้แก่อะไรตลอดถึงชนิดของคำที่จะมาเป็น Subject ได้
ดังนั้น ณ บัดนี้ จะได้พูดถึงภาคขยายหรือส่วนของ Verb (กริยา) อันถือได้ว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของประโยคเสียก่อน ซึ่งแต่ละประโยคก็จะขาดเสียมิได้เลย แฟนตัวยงที่ใฝ่ เรียนภาษาอังกฤษ ต้องไม่พลาดจ๊ะ
Kinds of Verbs (ชนิดของกริยา)
ถาม : Verbs ในภาษาอังกฤษแบ่งออกเป็นกี่ชนิด อะไรบ้าง?
ตอบ : Verbs ในภาษาอังกฤษ ถ้าแบ่งเป็นชนิดแล้วมีอยู่ 2 ชนิด คือ
1. Transitive Verb (สกรรมกริยา) ได้แก่ “Verb ที่ต้องมีตัว Object (กรรม) มารับเสียก่อน แล้วเนื้อความของ Verb ตัวนั้นจึงจะสมบูรณ์ ฟังชัดเจนขึ้น” เช่น
He killed a snake. เขาได้ฆ่างู
I sent a parcel to him. ฉันได้ส่งห่อของไปให้เขา
2. Intransitive Verb (อกรรมกริยา) ได้แก่ “Verb ที่มีใจความหรือเนื้อความสมบูรณ์อยู่ในตัวเองแล้ว เวลาพูดหรือเขียนไม่ต้องมีตัว Object มารับเหมือนข้อแรก” เช่น
A small boy walks slowly. เด็กตัวเล็กเดินช้า
Those foreigners slept happily.
ชาวต่างประเทศเหล่านั้นนอนหลับอย่างมีความสุข
(Walked และ Slept เป็นอกรรมกริยาไม่ต้องมีกรรมมารับ)
ถาม : เมื่อสักครู่นี้เห็นพูดว่า สกรรมกริยา (Transitive Verb) เวลาพูดหรือเขียนต้องมีกรรม (Object) มารับจึงจะทำให้สกรรมกริยาตัวนั้นได้เนื้อความสมบูรณ์ ใคร่ขอทราบว่ามีคำอะไรบ้างที่จะมาเป็นกรรมของสกรรมกริยาได้?
ตอบ : คำที่จะมาทำหน้าที่เป็นกรรม (Object) ของสกรรมกริยาได้นั้น ได้แก่คำต่อไปนี้คือ :
1. Noun ทุกชนิดทำหน้าที่เป็น Object ได้ เช่น
Somsri bought a mango this morning.
สมศรีซื้อมะม่วงผลหนึ่งเมื่อเช้านี้
They play football every day after school.
พวกเขาเล่นฟุตบอลทุกวันหลังจากเลิกโรงเรียน
(mango และ football เป็น Object ของ bought และ play)
2. Pronoun ใช้ทำหน้าที่เป็น Object ได้ เช่น
She does not know me well. หล่อนไม่รู้จักฉันดีนัก
I will tell him if I meet him. ฉันจะบอกเขาให้ถ้าฉันพบเขา
(me และ him เป็น Object ของ know, tell และ meet)
3. Adjective (คุณศัพท์ที่ใช้อย่างนาม) นำมาใช้ทำหน้าที่เป็น Object ของกริยาได้ เช่น
Good people like to help the poor.
คนดีทั้งหลายชอบช่วยเหลือคนยากจน
We need the brave to defend our country.
เราต้องการคนกล้าหาญไว้ป้องกันประเทศชาติของเรา
(poor และ brave เป็น Adjective แต่นำมาใช้อย่างนามและทำหน้าที่เป็น Object ของกริยา help และ need)
4. Infinitive (to + Verb ช่อง 1) นำมาใช้เป็น Object ของกริยาได้ เช่น
My brother wants to study French.
น้องชายของผมต้องการเรียนภาษาฝรั่งเศส
A student is learning to speak English
นักศึกษาคนหนึ่งกำลังเรียนพูดภาษาอังกฤษ
(to study และ to speak เป็น Infinitive แต่นำมาใช้ทำหน้าที่เป็น Object ของกริยา wants และ learning)
5. Gerund (Verb เติม ing) นำมาใช้ทำหน้าที่ Object ของกริยาได้ เช่น
I wish having a new friend with me here.
ฉันอยากได้เพื่อนใหม่สักคนอยู่กับฉันที่นี่
That old man likes smoking alone.
ชายชราคนนั้นชอบสูบบุหรี่อยู่ตามลำพัง
(having และ smoking เป็น gerund แต่นำมาใช้เป็น Object ของกริยา wish และ likes )
6. Phrase (วลี) นำมาใช้ทำหน้าที่เป็น Object ของกริยาได้ เช่น
Her sister does not know how to use the telephone.
น้องสาวเธอไม่รู้จักวิธีใช้โทรศัพท์
I do not know what to say to him.
ฉันไม่รู้ว่าจะพูดอะไรกับเขา
(how to use และ what to say เป็นวลี แต่หากนำมาใช้เป็น Object ของกริยา know ด้วยกันทั้งคู่)
7. Clause (ประโค) นำมาใช้ทำหน้าที่เป็น Object ของกริยาในประโยคได้เช่นกัน เช่น
My friend wants to know that I am doing here.
เพื่อนผมอยากรู้ว่าผมกำลังทำอะไรอยู่ที่นี่
She does not understand how I can arrive here.
หล่อนไม่เข้าใจว่าผมมาถึงที่นี่ได้อย่างไร
(what I am doing here และ how I can arrive here เป็น Clause แต่นำมาใช้ทำหน้าที่เป็น Object ของกริยา know และ understand)