เรียนภาษาอังกฤษ เรื่อง การใช้ Will Would Shall Should

ถาม : Will, Would, Shall, Should ทำหน้าที่ช่วยกริยาตัวอื่นได้อย่างไร? จงอธิบายมาให้กระจ่างด้วย?

ตอบ : Will, Shall, Would, Should , ใช้ทำหน้าที่ช่วยกริยาตัวอื่นได้ดังต่อไปนี้

Will แปลว่า “จะ” ใช้ทำหน้าที่ช่วยกริยาตัวอื่น เพื่อบอกความเป็นอนาคตกาล (Future tense) และใช้กับประธานที่เป็นบุรุษที่ 2 (คือ you) และบุรุษที่ 3 (คือ He, She, It, They) ตลอดถึงนามเอกพจน์ พหูพจน์ ทั่วไปที่มาเป็นประธานได้ทั้งนั้น เช่น

He will meet his friend on the road.

เขาจะไปพบเพื่อนของเขาที่ถนน

You will be in time if you hurry.

คุณจะทันเวลาถ้ารีบหน่อย

Naraporn will arrive in Bangkok this evening.

นราพรจะมาถึงกรุงเทพฯเย็นวันนี้

The students will sit for an examination tomorrow.

นักศึกษาจะเข้าสอบไล่วันพรุ่งนี้

Shall แปลว่า “จะ” ใช้ทำหน้าที่ช่วยกริยาตัวอื่น เพื่อให้เป็นอนาคตกาล (Future Tense) เช่นเดียวกับ will และ ให้ใช้กับประธานที่เป็นบุรุษที่ 1 (คือ I, We เท่านั้น) เช่น

I shall start my journey tomorrow.

ผมจะออกเดินทางวันพรุ่งนี้

We shall be there at six o’clock.

เราจะไปถึงที่นั่นเวลา 6 นาฬิกา

I shall write a letter to him soon.

ผมจะเขียนจดหมายถึงเขาในเร็วๆนี้

หมายเหตุ : Will และ Shall หากใช้สลับกันกับบุรุษที่กล่าวมาแล้ว นั่นคือ ใช้ Will กับ I, We และ ใช้ Shall กับ he, she, it, they ตลอดถึงนามทั่วไปที่มาเป็นประธานแล้ว ย่อมมีความหมายพิเศษขึ้น ผิดไปจากการใช้แบบปกติ เพราะนั่นแสดงถึงความตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะกระทำการนั้นๆ แสดงถึงคำมั่นสัญญา, แสดงการข่มขู่ , แล้วแต่กรณีไป เช่น

I will try to do it again.

ผมจะยาพยามทำอีกครั้ง (แสดงความตั้งใจ)

I will give you a reward if you pass the exam.

ผมจะให้รางวัลคุณถ้าคุณสอบได้ (แสดงถึงคำมั่นสัญญา)

If you work well, you shall have higher wages.
ถ้าคุณทำงานดี คุณก้จะได้รับค่าจ้างสูงขึ้นอีก (คำสัญญา)

Don’t worry. She shall bring good news for you

อย่าวิตกไปเลย หล่อนจะต้องนำข่าวดีมาให้คุณแน่ (คำสัญญา)

That boy shall be punished, if he doesn’t go to school today.
เด็กคนนั้นจะถูกทำโทษ ถ้าเขาไม่ไปโรงเรียนวันนี้ (ข่มขู่)

ทั้ง 5 ประโยคที่ยกมากล่าวเป็นอุทาหรณ์แสดงไว้ข้างบนนี้ จะเห็นว่า ใช้ will, shall สลับบุรุษกันทั้งนี้ก็เพื่อแสดงถึงความตั้งใจอย่างแน่วแน่, การให้คำมั่นสัญญา, การข่มขู่ ตามที่ได้กล่าวมาแล้วนั่นเอง ในทางกลับกันหากเราใช้ will กับบุรุษที่ 2-3 และ shall กับบุรุษที่ 1 ก็ถือว่าเป็นการใช้ปกติของหลักภาษา ความหายก็พลอยเป็นปกติไปด้วยไม่ได้พิเศษอะไรเลย แต่นี่เราใช้สลับกันกับปกติที่เคยใช้ มันจึงมีความมายพิเศษขึ้นไปตามด้วย หวังว่าท่านผู้อ่านคงเข้าใจแล้วน่ะครับ !

นอกจากนี้แล้วเฉพาะ shall ยังใช้ได้กับทุกบุรุษอีกด้วย เมื่อไปเป็นกริยาพิเศษแสดงถึงวัตถุประสงค์ในวิเศษณานุประโยค (Adverb Clause of Purpose) ที่มีคำสันธาน so that หรือ in order that เช่น

Somsak come here so that he shall see his father.

สมศักดิ์มาที่นี่ก็เผื่อว่าจะได้พบกับคุณพ่อของเขา

The man works harder in order that he shall have higher wages.

ชายคนนั้นทำงานหนักขึ้นก็เผื่อว่าเขาจะได้รับค่าจ้างสูงขึ้นด้วย

Would แปลว่า “จะ” ใช้ทำหน้าที่เป็นกริยาช่วยให้กับกริยาตัวอื่นได้ดังต่อไปนี้

1) ใช้เป็นอดีตของ will ในประโยคที่เปลี่ยนมาจาก Indirect Speech เช่น

She said, “I will do it again.”

หล่อนพูดว่า “ดิฉันจะทำอีกครั้ง”

She said that she would do it again.

หล่อนพูดว่า หล่อนจะทำอีกครั้งหนึ่ง

2) ใช้ในประโยคเงื่อนไข (Conditional Sentence) เช่น
if I were you. I would try to do.

ถ้าผมเป็นคุณ ผมจะพยายามทำให้ได้

We would have come if it had not rained.

พวกเราจะได้มาแล้ว ถ้าเผื่อฝนไม่ตก

3) ใช้กับกริยาช่วยร่วมกับ like ในสำนวนการพูดเพื่อความสุภาพ ซึ่งมีความหมายว่า “อยากจะ, อยากให้” กรณีเช่นนี้ Would ใช้ได้กับทุกพจน์และทุกบุรุษ และมีความเป็นปัจจุบันกาลด้วย กรุณาอย่าได้เข้าใจว่าเป็นอดีตนะครับ เช่น

He would like to meet you every Sunday.
เขาอยากพบคุณทุกๆ วันอาทิตย์

Somporn would like to study political science.

สมพรอยากเรียนวิชารัฐศาสตร์

I would like to be here alone.
ผมอยากอยู่ที่นี่ตามลำพังหน่อย

4) ให้ใช้ would (แทน will ตลอดไป) เมื่อผู้พูดไม่แน่ใจคือยังสงวนทาทีเพื่อรอดูปฏิกิริยาของผู้ที่ตนพูดด้วยว่า จะเป็นหรือทำอย่างที่ชักนำหรือไม่ และตามกฎข้อนี้มักใช้ในคำตอบเพื่อความสุภาพ เช่น

Would you have some cold drinks?
คุณจะรับเครื่องดื่มเย็นๆ สักอย่างไหมครับ?

Would you like to watch television?

คุณอยากดูโทรทัศน์ไหมครับ? ( เป็นการเชิญชวน)

5) ในประโยคคำถามที่มีกริยา Mind, please เข้ามาร่วม เพื่อความสุภาพในการถามหรือออกคำสั่ง และเพื่อเป็นการให้เกียรติแก่คู่สนทนาอีกโสดหนึ่ง ต้องใช้ Would นำหน้าคำถามหรือคำสั่งนั้นๆ ตลอดไป เช่น

Would you mind if I smoke? Of course not.
คุณจะรังเกียจไหมถ้าผมจะสูบบุหรี่? ไม่รังเกียจครับ

Would you please shut the door on your way out?

กรุณาช่วยเปิดประตูทางที่คุณออกไปได้ไหมครับ?

Would you mind posting this letter for me?

จะรังเกียจไหมครับที่จะส่งจดหมายฉบับนี้ไปให้ผม?

หมายเหตุ : ประโยคทั้ง 3 นี้เราจะใช้ will หรือ do นำมาตั้งคำถามขึ้นต้นประโยคก็ได้ แต่ไม่สุภาพซึ่งจะทำให้ผู้พูดเสียมารยาทอย่างแรงทีเดียว เพราะฉะนั้นควรระวัง!

6) ใช้ในสำนวนพูดว่า “ควรจะ…ดีกว่า, สมัครใจที่ใจ…ดีกว่า” ควบกับ better หรือ rather ใช้ได้กับทุกพจน์ทุกบุรุษ เช่น

He would better (rather) go to meet you today.
เขาควรจะไปพบคุณ วันนี้ดีกว่า

Which would you rather have, tea or coffee?
คุณอยากจะดื่มอันไหนมากกว่าชากับกาแฟ?

บางครั้งหลัง better หรือ rather จะมี than มาต่อท้ายอีกก็ได้ เช่น

I would rather die than come back without success.
ผมควรจะตายเสียดีกว่าที่จะกลับมาโดยไม่ประสบความสำเร็จ

She would rather walk than run.
เธอควรจะเดินไปมากกว่าวิ่ง

Should แปลว่า “จะ” มีหลักการใช้ ดังต่อไปนี้ :

1) ใช้เป็นรูปอดีต (Past Tense) ของ Shall ในประโยค Indirect Speech เช่น

He said to me, “ You will be able to do it.”
เขาพูดกับผมว่า, “คุณจะต้องสามารถทำมันได้”

He told me that I should be able to do it.

เขาบอกผมว่า ผมจะต้องสามารถทำมันได้

2) ในประโยคที่เป็นอนาคตกาล (Future Tense) ถ้าผู้พูดยังมีความสงสัย, ไม่แน่ใจ, หรือยังเป็นการคาดหมายอยู่เกี่ยวกับเหตุการณ์หรือพฤติกรรมนั้น ต้องใช้ Should ตลอดไป (ไม่นิยมใช้ Shall) เช่น :
They should be there by 3 o’clock, I think.

ผมคิดว่า พวกเขาจะต้องไปถึงที่นั่นเวลาบ่าย 3 โมง

3) Should เมื่อแปลว่า “ควรจะ” คือเป็นปัจจุบันกาลใช้ได้กับทุกพจน์ทุกบุรุษ ใช้แสดงถึงหน้าที่ที่จะต้องกระทำ การให้คำแนะนำ (Duty, obligation or advice) ซึ่งมีความหมายเท่ากับ Ought to โดยเฉพาะภาษาพูดจะใช้ should แทน Ought to เช่น :

Application should be submitted by May 5 th at the lastest.
ใบสมัครควรจะยื่นภายในวันที่ 5 พฤษภาคมเป็นอย่างช้า

You should go on a diet. คุณควรลดอาหารบ้าง

We should obey our government. เราควรเชื่อฟังรัฐบาลของเรา

4) ใช้ should have + Verb ช่อง 3 กับอดีตกาลที่ไม่เกิดขึ้นจริง ซึ่งได้ผ่านพ้นมาแล้ว เช่น :

Surat should have studied hard before the examination. (but he didn’t.)

สุรัชควรจะได้เรียนอย่างจริงจังก่อนที่จะสอบ

Your report is too late. You should have submitted it by last Friday.

รายงานของคุณช้าเกินไป คุณน่าจะได้ยื่นเมื่อวันศุกร์ที่แล้ว (แต่คุณก็ไม่ได้ยื่น)

5) ใช้ should แทน might กับทุกประธานได้ ในประโยคที่แสดงความนุ่มนวล โดยมี สันธาน So that, in order that นำหน้าประโยคของมัน เช่น:

I helped him very much so that he should (might) succeed.

ผมได้ช่วยเขาอย่างมากทีเดียว ดังนั้นเขาควรสำเร็จ

6) ใช้ should ในประโยคที่ตามหลัง lest, for fear that, ตลอดไป เช่น :

Winai studied harder lest he should fail.

วินัยศึกษาขะมักเขม้นยิ่งขึ้น เผื่อว่าจะได้ไม่ต้องสอบตก

She remained silent for fear that I should hear her.

หล่อนยังเงียบอยู่ เพราะเกรงว่า ผมจะได้ยินเธอ

Can แปลว่า “สามารถ” เป็นกริยา Anomalous Verb (กริยาพิเศษ) ได้เพียงอย่างเดียวรูปอดีตของ can คือ could กริยาตัวอื่นที่ตามหลัง can เป็น Infinitive Without “to” และนอกจากนี้แล้ว can ยังใช้ได้กับทุกประธานและทุกพจน์อีกด้วย ซึ่งมีวิธีใช้ได้ต่อไปนี้ :
1) ใช้แสดงความเป็นอิสระจากพันธะอื่นๆ เช่น
I can see you tomorrow at 7 o’clock.

พรุ่งนี้ผมพบคุณได้เวลา 7 นาฬิกา

2) ใช้แสดงภาวการณ์รับรู้ซึ่งมิอาจควบคุมได้ เช่น :
I can see (hear, remember, etc.).

ผมสามารถเห็น (ได้ยิน, จำได้ เป็นต้น)

3) ใช้แสดงถึงสิ่งที่ผู้พูดพูดนั้นเป็นความจริง หรือเป็นไปได้อย่างแน่นอน โดยปราศจากข้อสงสัย เช่น :

This can be the answer, I think.

ผมคิดว่า นี้คือคำตอบที่ถูกต้อง

Can this be right?

สิ่งนี้ถูกต้องหรือ?

4) ใช้แสดงถึงความสามารถหรือการอนุญาต เช่น :
I can drive very far from here.

ผมสามารถขับรถไปได้ไกลจากที่นี่

You can go whenever you want.

คุณไปได้เมื่อคุณต้องการ

5) ใช้แสดงถึงพละกำลัง การฝึกหัดและการเรียนรู้ เช่น

Can you lift that table?

คุณสามารถยกโต๊ะตัวนั้นได้ไหม?

Can you play the piano well?

คุณสามารถเล่นเปียโนได้ดีไหม?

Could แปลว่า “สามารถ” เป็นรูปอดีตของ can ใช้ได้กับทุกพจน์และทุกตัวประธาน กริยาตัวอื่นที่ตามหลังเป็น Infinitive without “to” ซึ่งมีรายละเอียดของการใช้ได้ดังต่อไปนี้ :

1) ใช้แสดงความเป็นอิสระจากพันธุอื่นๆ ได้ แต่มีความแน่นอนน้อยกว่า Can เช่น :

She could see me tomorrow at 7 o’clock, perhaps.

พรุ่งนี้เวลา 7 นาฬิกา หล่อนอาจจะพบผมก็ได้

2) ใช้เป็นอดีตของ Can ในประโยค Indirect Speech (ที่เปลี่ยนจาก Direct Speech) เช่น :
Direct : She said, “I can go there alone?”

Indirect : She said that she could go there alone.

หล่อนพูดว่าหล่อนสามารถไปที่นั่นคนเดียวได้

3) ใช้แสดงถึงความสามารถที่ได้กระทำในอดีต เช่น
I Could speak French perfectly ten years ago.

ผมสามารถพูดภาษาฝรั่งเศส ได้ดี เมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา

He could swim across this river when he was young.

เขาสามารถว่าย ข้ามแม่น้ำนี้ได้ เมื่อตอนที่เขาเป็นหนุ่ม

4) ใช้เพื่อขออนุญาตกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งกับคู่สนทนา ทั้งนี้เพื่อเป็นการให้เกียรติกับผู้ที่เราพูดด้วย เช่น :
Could I borrow you pen, please?

ผมขอยืมปากกาท่านหน่อยได้ไหมครับ?

Could I go in your office?

ผมขอเข้าไปที่ทำงานของท่านได้ไหม?

5) Could ที่นำมาใช้ในรูป Could + have + Verb ช่อง 3 เพื่อแสดงถึงความสามารถหรือความเป็นไปได้ในอดีต แต่ก็ไม่ได้ใช้ความสามารถนั้นเสีย เช่น
I Could have lent you the money. Why didn’t you ask me?

ผมให้คุณยืนเงินได้ (แต่) ทำไมคุณจึงไม่ออกปากขอ?